ปัจจุบัน ม.ที่รับรองแบบมีเงื่อน ยังติดปัญหา/เงื่อนไขอะไรอยู่บ้าง

ในปี 2566 นี้ มี คณะเภสัชศาสตร์ ที่ยังมีการรับรองแบบมีเงื่อนไขอยู่ 3 มหาวิทยาลัย เรามาดูกันว่า แต่ละที่ยังติดปัญหาหรือเงื่อนไขอะไรอยู่บ้าง

ปล. ถ้าใครยังไม่รู้ว่ารับรองแบบมีเงื่อนไขคืออะไร อ่านได้ที่ การรับรองแบบมีเงื่อนไขคืออะไร (เภสัช) 
ปล2. ในแง่ผลกระทบกับนักศึกษา อ่านได้ที่ การรับรองแบบมีเงื่อนไขส่งผลยังไงกับนักศึกษา

ม.เวสเทิร์น

สรุปคร่าวๆ ม.เวสเทิร์นยังติดเงื่อนไขดังนี้

  1. ต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์รองรับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
  2. อาจารย์บางสาขายังขาดแคลนและไม่เพียงพอ
  3. แผนพัฒนาบุคลากรยังไม่ละเอียดเพียงพอ
  4. ให้มีการจัดจ้างและมอบหมายภาระงาน เพื่อการพัฒนาที่สอดคล้องกับพันธกิจของคณะ
  5. ยังไม่มีแผนสรรหาและเตรียมความพร้อมของแหล่งฝึกในอนาคต
  6. ยังไม่มี MOU กับแหล่งฝึกปฏิบัติการด้านเภสัชกรรมอุตสาหการ
  7. ร้านยาคณะอยู่ระหว่างรอการตรวจประเมินร้านยาคุณภาพ
  8. ควรมีห้อง study room และเพียงพอสำหรับ self study
  9. มีห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์เพียงพอสำหรับนิสิตกลุ่มเล็ก แต่นิสิตยังต้องเสียเงินเพิ่มเติมเองเพื่อซื้ออุปกรณ์อยู่
  10. ปรับปรุงความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (จัดเก็บเชื้อ/อาหารเลี้ยงเชื้อในตู้เย็นเก็บสารเคมี, มีสารเคมีหมดอายุ, อ่างอาบน้ำฉุกเฉินยังเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการเข้าถึง)

อ้างอิง ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 52/2566 เรื่อง สถาบันการศึกษาที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรอง (เพิ่มเติม ฉบับที่ 58)

ม.อีสเทิร์นเอเชีย

สรุปคร่าวๆ ม.อีสเทิร์นเอเชียยังติดเงื่อนไขดังนี้

  1. มีอาจารย์ที่มีใบประกอบร้อยละ 80 แล้ว แต่ยังรักษาจำนวนอาจารย์ไว้ไม่ได้ จำนวนอาจารย์เปลี่ยนแปลงบ่อย
  2. มีอาจารย์ขั้นต่ำ ป.เอก 50% หรือเทียบเท่า หรือมีแผนพัฒนาแล้ว แต่อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่เกษียณอายุจากระบบราชการ จึงควรเตรียมพร้อมอาจารย์รุ่นใหม่ให้ขึ้นมาทดแทนได้ทัน
  3. อาจารย์ลาออกอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์สังคมมีน้อยเกินไป และมีอาจารย์ด้านเภสัชเคมีที่ตรงคุณวุฒิเพียงคนเดียว
  4. ไม่พบการจัดหาและพัฒนาอาจารย์ที่สอนแบบ practice based ในแหล่งฝึกงานตามแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม
  5. ควรจัดทำแผนด้านการสรรหาและพัฒนาบุคลากรให้ชัดเจน
  6. ควรเร่งหาอาจารย์ด้านเภสัชเคมี
  7. เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการลาออกของอาจารย์ จึงให้รับนักศึกษาต่อปีตามจำนวนอาจารย์ที่ปฏิบัติงานจริง ไม่เผื่อจำนวนรับเพิ่ม
  8. ไม่พบแผนการสนับสนุน/พัฒนาแหล่งฝึกงานที่ชัดเจน
  9. อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพต่ำกว่า 50% ควรเร่งหาวิธีการในการเพิ่มอัตราการสอบผ่าน และรายงานตัวชี้วัดเชิงรุก
  10. ทำให้จำนวนผู้สอบผ่านใบประกอบมากกว่า 50% ให้ได้ภายใน 3 ปี

อ้างอิง ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 68/2566 เรื่อง สถาบันการศึกษาที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรอง (เพิ่มเติมฉบับที่ 59)

ม.พายัพ

สรุปคร่าวๆ ม.พายัพยังติดเงื่อนไขดังนี้

  1. ยังมีอาจารย์ลาออกอยู่เป็นระยะ และให้จัดหาอาจารย์สายการบริบาลและเภสัชศาสตร์สังคมเพิ่มเติม
  2. อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพต่ำกว่า 50% ควรเร่งหาวิธีการในการเพิ่มอัตราการสอบผ่านให้ได้เกิน 50% ให้ได้ภายใน 3 ปี

อ้างอิง ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 96/2566 เรื่อง สถาบันการศึกษาที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรอง (เพิ่มเติมฉบับที่ 60)


Share this:

Posted in Uncategorized.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *