การรับรองแบบมีเงื่อนไขส่งผลยังไงกับนักศึกษา

คือพี่เคยเขียนบทความเรื่อง การรับรองแบบมีเงื่อนไขคืออะไร (เภสัช) แล้วก็มีน้องสงสัยว่า ดูๆรวมๆแล้ว มันก็ต่างกันแค่ความถี่ในการตรวจรับรองนิ แล้วจะมีอะไรกับ นศ. ไหม

พี่ขอตอบว่า ไม่มีผลอะไรหรอกครับ

อย่างที่ทราบกันดีกว่า การรับรองแบบมีเงื่อนไขคือ สภาเภสัชจะตรวจรับรองทุกปีจนกว่าจะมีนักศึกษาจบจากสถาบันนั้นและสอบใบประกอบผ่านเกิน 50% 3 ปี ติดต่อกัน ส่วนการรับรองแบบไม่มีเงื่อนไข คือ สภาเภสัชฯจะตรวจประเมินเพื่อรับรองทุก 5 ปี ครับ แต่ถ้าตกเกณฑ์ก็จะโดนปรับเป็นแบบมีเงื่อนไขอีกรอบ

ซึ่งเอาจริงๆ แบบเงื่อนไข ไม่มีเงื่อนไข ต่างกันแค่ความถี่ในการตรวจประเมินแค่นั้นแหละครับ

แต่ถ้ากังวลว่า โดนตรวจบ่อย ตรวจทุกปี แล้วปรากฏเรียนๆอยู่แล้วมีปีที่ไม่ผ่านการรับรองระหว่างเรียน อันนี้ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะว่าดูจากปีที่เข้าเรียนเป็นหลัก ถ้าปีที่เข้าเรียนนั้นผ่านการรับรอง ก็คือจบไปแล้วสอบใบประกอบผ่าน ก็สมัครเป็นสภาชิกสภาเภสัชกรรมได้ ผลการรับรองของปีอื่นไม่เกี่ยว

ยกตัวอย่าง น้องสอบเข้ามหาลัยที่รับรองแบบมีเงื่อนไขปี 2565 ดังนั้นต่อให้ปี 66 67 ม.จะไม่ผ่านการรับรอง น้องก็สามารถสอบใบประกอบและขอขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมได้ตามปกติ แต่รุ่นน้องของน้องที่เข้ามาปี 66 67 จะขอขึ้นทะเบียนไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่า น้องจะรีรหัส นศ. ตัวเองจากปี 65 เป็น 66 แบบนี้ น้องถึงจะมีปัญหา

อีกกรณีนึงคือ มอที่รับรองแบบมีเงื่อนไข มีโอกาสถูกเพิกถอนการรับรองง่ายกว่าเพราะ เพราะว่าถูกตรวจประเมินทุกปี ถ้าปีไหนไม่ผ่าน แล้วแก้ไขไม่ทัน ก็จะถูกเพิกถอนเลย หรือในกรณีที่สอบใบประกอบผ่านน้อยกว่า 50% ถ้าเป็นมอที่รับรองแบบไม่มีเงื่อนไข จะถูกลดระดับเป็นมีเงื่อนไขก่อน แต่ถ้าเป็นมอที่รับรองแบบมีเงื่อนไขอยู่แล้ว สอบใบประกอบวิชาชีพผ่านต่ำกว่าร้อยละ 50 เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน หรือ สอบใบประกอบวิชาชีพผ่านต่ำกว่าร้อยละ 25 เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ก็จะถูกเพิกถอนได้เลย (ก็คือมอที่รับรองแบบไม่มีเงื่อนไข ช่วยซื้อเวลาการถูกเพิกถอนในกรณีแบบนี้ได้นานขึ้น 1 ปี) ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีกรณีมอไหนถูกเพิกถอนการรับรอง ดังนั้นพี่ก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ นศ. ที่กำลังเรียนอยู่ที่มอนั้น (แต่จากการที่พี่ตามอ่านประกาศต่างๆมาตลอด พี่เดาว่า มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2 เคส คือ 1. ให้นักศึกษาที่เรียนในปีที่ผ่านการรับรองแล้วเรียนจนจบ หรือ 2.ทำเรื่องโอน นศ. ที่กำลังเรียนอยู่ ไปเรียนมออื่นแทน)

 


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *