Timeline photos

ย้อนอดีตไป 3 ปี วันนี้ปรากฏการณ์เก่าๆยังสะท้อนอยู่เนืองๆ
……….
ความจริงที่ เป็น อยู่ คือ
ประชาชนย่อมได้รับความคุ้มครองบนจรรยาบรรณวิชาชีพหากรับบริการด้านยาจากผู้ประกอบวิชาชีพ
แต่ .. ในปรากฎการณ์ความจริงพบว่า
ผู้ประกอบวิชาชีพไม่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่จริง หรือ
ผู้อื่นที่ไม่ใช่ มาประกอบอาชีพแทน หรือ
ผู้มีหน้าที่กำกับไม่ดำเนินการตามกฎหมาย หรือ
ผู้มารับบริการ ไม่สนใจว่า ใครจะส่งมอบยาให้ตน
เรื่องจริง ณ ปัจจุบัน และ/หรือ อนาคต .. ตลอดกาล

https://www.facebook.com/bottomlineth/photos/a.590265934793187/595015490984898/


“ถามว่าโรคมีการเปลี่ยนแปลงเสมอไหม แล้วเขาได้มีการติดตามเรื่องโรค ยา หรือเวชปฏิบัติในการรักษาหรือเปล่า”
.
น่าจะเป็นความแตกต่างกันชัดเจนระหว่าง หมอกู (เกิ้ล) กับ เภสัชกรวิชาชีพ
.
วันนี้ ร้านยาที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนหน้าด่านของการคัดกรองผู้ป่วยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อยมักเดินเข้าร้านยาก่อนที่จะไปสถานพยาบาล
.
การตรวจสอบ ซักถามอาการเบื้องต้น ก่อนจะจัดตัวยาที่ใช้แก้อาการบรรจุซอง ก่อนจะส่งให้คนไข้อาจเป็นของชินตาในร้านขายยาทั่วไป แต่หลายคนอาจจะคิดว่า ปกติทุกวันนี้ คนก็เซิร์ชชื่อแล้วไปซื้อยาอยู่แล้ว เจ้าของร้านที่อยู่ประจำร้านยาหลายๆ แห่ง หรือ คนงานที่ยืนหน้าร้านแทน “เภสัชกร” ก็หยิบยาแทนกันได้หรือเปล่า
.
สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ ประธานชมรมเภสัชกรชุมชน จ.สงขลายืนยันถึงสิ่งที่วิชาชีพของคนจ่ายยาจะขาดไปไม่ได้ ในการแนะนำความรู้ที่ถูกต้อง ตั้งแต่การซักถามอาการ โรคประจำตัว ยาที่ใช้ ก่อนที่จะจ่ายยาให้กับคนไข้ได้
.
“เมื่อยาก็มีการเปลี่ยนแปลงชนิดหรือส่วนผสมอยู่เสมอ ถ้าทุกคนมีความรู้จากอินเทอร์เน็ตมาแล้ว เราก็ควรต้องทำหน้าที่เป็นผู้ที่มีความรู้มากกว่าออนไลน์”
.
นั่นก็เพื่อป้องกันความโชคร้ายจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของการใช้ยา ที่คนส่วนใหญ่มักจะขอยาแรงๆ ให้หายไวๆ มากกว่าจะฟังคำอธิบายการใช้ยา หรือผลข้างเคียง
.
ขณะเดียวกันการสร้าง เภสัชกรรุ่นใหม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการยกระดับ และสร้างมาตรฐานงานด้านเภสัช
.
อย่าง ลูกไม้ – ภัคจิรา ภควัตชัย นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า เภสัชกรถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กระบวนการรักษาไปต่อได้
.
“หมอเขาก็วินิจฉัยโรคมา แต่บางทีเขาอาจจะตกหล่นในเรื่องของยาไป เพราะหมออาจจะไม่ได้ลงลึกเรื่องยาเท่าไหร่ การมีเภสัชจะช่วยตรวจสอบ ตลอดจนคัดกรองยา รวมทั้งอธิบายยาให้กับคนไข้ได้ โดยเฉพาะวิชาชีพอย่างเราที่ไม่ได้เรียนแค่ความรู้อย่างเดียว แต่เราเรียนทั้งด้านสื่อสารกับผู้ป่วยด้วย”
.
ส่วน กิตติภัทท์ ยงพานิชกุล นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จาก มอ.หาดใหญ่ ยอมรับว่าความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างคนที่ยืนเคาน์เตอร์ยาทั่วไปกับเภสัชกรนั้นนอกจากความรู้ ก็คือ ลักษณะทางวิชาชีพ ซึ่งเรื่องนี้เขาเองเจอกับตัวมาตั้งแต่เด็กๆ
.
“เคยไปร้านยาครั้งหนึ่งตอนเด็ก บอกว่าเราปวดแขน เขาก็หยิบยามาให้หลอดหนึ่งแล้วก็ไม่พูดอะไรเลย ซึ่งพอเราได้มาเรียนด้านนี้จริงๆ ถึงได้รู้ว่า มันมีรายละเอียดอะไรมากกว่าการยื่นยาให้คนไข้กลับไปใช้เองตั้งเยอะ”
.
ร้านยาแถวบ้านคุณล่ะ เป็นแบบนี้หรือเปล่า

เรื่อง: ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
เรียบเรียง: Bottom Line
ภาพประกอบ: สรรณ บุญนฤธี

#BottomLine #BottomLineIs #BottomLineTh

#Social #ร้านขายยา #เภสัชกร #เภสัชกรแขวนป้าย #องค์การเภสัชกรรม #อย.

ดูโพสต์ต้นฉบับ


Share this:

Posted in ข่าวสารสมาคมเภสัชชุมชน.