โฆษณายา แบบไหนทำได้/ไม่ได้

สืบเนื่องจากตอนนี้มีอาชีพใหม่ แคปคนโฆษณายาส่ง อย. โดนค่าปรับกันหลายหมื่น (มีตั้งแต่ 1 หมื่น ถึง 1 แสน) แถมคนแจ้งยังได้ส่วนแบ่งค่าปรับด้วย เราก็เลยจะมาทำความเข้าใจเรื่องโฆษณายากันนะครับ

รีวิว vs การโฆษณา? ต่างกันอย่างไร แบบไหนทำได้หรือไม่ได้

อย่างแรก อยากให้ไปอ่านบทความนี้ครับ https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=2773#_ftn1

ต่อมาที่ต้องเข้าใจคือ ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายควบคุมการรีวิว ดังนั้น ต้องใช้กฎหมายอื่นเพื่อควบคุมการรีวิว เช่น ถ้ารีวิวแย่ๆกลั่นแกล้งก็ใช้ ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งในมูลละเมิด หรือในกรณีของผลิตภัณฑ์สุขภาพ พวกยา อาหาร เครื่องสำอาง ก็ต้องเป็นการรีวิวไม่เข้าข่ายการโฆษณา เช่น ถ้าเป็นยา ก็ต้องไม่เข้าข่ายการโฆษณายาตามกฎหมายว่าด้วยยา

แล้วรีวิวแบบไหนที่จะเข้าข่ายโฆษณา หลักๆมี 3 ข้อ

  1. ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (และประโยชน์ทางการค้าหมายรวมถึงเพื่อการซื้อขายด้วย)
  2. รับเงินมารีวิว
  3. บอกแต่ด้านดี

แล้วจะรู้ได้ไงว่าอันนี้แค่รีวิวเฉยๆไม่ต้องแจ้ง ความจริงคือ ถ้าองค์ประกอบทางความผิดครบก็แจ้งได้ เพราะเราไม่ได้มีหน้าที่ตีความ คนที่ต้องตีความคือศาลซึ่งจะดูจากพยานหลักฐานประกอบด้วย

คำถาม

1.ทำเว็บมีรูปยา ผิดเรื่องโฆษณายาไหม?

ถ้ามีรูปสินค้า กดใส่ตะกร้า กดซื้อได้ ก็ผิด เพราะถือว่าเข้าข่ายการขาย (เผยแพร่ + การขาย = โฆษณาขาย)

2.ทำไมโพสต์รูปลงว่าสินค้ามาแล้วที่ร้านถึงผิด?

เพราะการขายตาม พรบ.ยา หมายรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย พอมีรูป + มีของที่ขาย(=ขายแล้วตาม พรบ.ยา) มันเลยเข้าข่ายโฆษณายา

แต่มันก็ขึ้นกับว่าเผยแพร่ยังไงด้วย อย่างส่งให้ส่วนตัวแบบนี้ มันไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชน มันก็ไม่เข้าข่ายโฆษณาอยู่แล้ว แต่ถ้าแชร์ใน fb แค่กับเพื่อน ไม่ได้เปิด public งี้ ถือว่าเผยแพร่สู่สาธารณชนไหม ไม่รู้ ยังไม่เคยเห็นใครตีความ (แต่ถ้าเปิดแค่เพื่อนแล้วยังโดนแคปไปฟ้อง เพื่อนแบบนี้ก็เลิกคบเหอะ)

3.ให้ลูกจ้างโพสต์ได้ไหม?

ลูกจ้างโพสต์มีความผิดตาม พรบ.ยา + ลูกจ้างได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 16 ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่ผู้รับอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้ + ถ้าการกระทำของลูกจ้างเข้าข่ายการขาย จะโดน พรบ.วิชาชีพเภสัช เรื่องประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

4.คนธรรมดาโฆษณายาโดนอะไร?

โดนความผิดตาม พรบ.ยา + ถ้าเข้าข่ายการขายยาด้วย ก็โดนเรื่องประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตาม พรบ.วิชาชีพด้วย

5.เภสัชโฆษณายาโดนอะไร?

โดนความผิดตาม พรบ.ยา + โทษทางจรรยาบรรณตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม

6.ขายยาสามัญประจำบ้าน เครื่องมือแพทย์ พวกนี้ ในเว็บหรือสื่อออนไลน์ได้ไหม

ขายได้ แต่ห้ามมีรูปหรือสื่อที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเพราะจะเข้าข่ายโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต (แล้วมันจะขายยังไงวะ ไม่มีรูป) หรือถ้าจะใช้สื่อ ก็ต้องใช้สื่อที่ขออนุญาตโฆษณาแล้ว หรือไม่งั้นก็ไปขออนุญาตเอง ตามนี้ https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/advertisement01.aspx?ยื่น 1 คำขอ มียากี่ตัวก็ได้ แต่ต้องอยู่ในหน้าเดียวกัน (ก็กฎหมายมันออกมาสมัยยังไม่มีเว็บหลายๆหน้าอ่ะ มันคิด base on ป้าย 1 ป้าย กระดาษ 1 แผ่น) แต่จากใจจริงเลยนะ ยาสามัญประจำบ้านพวกมืงก็ปล่อยๆกันบ้างเหอะ อย่าแคปไปฟ้องกันเลย

ดูตัวอย่างในแอพ 7-11 ทำค่อนข้างดีมีการขายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน​(เพราะกฎหมายอนุญาตขายได้แค่นี้)​ แต่ก็มีการระบุเลขที่ขอโฆษณาครบถ้วนทั้งการโฆษณาเครื่องมือแพทย์(มีเลขฆพ.)​และโฆษณายาที่ไม่ใช่ยาอันตรายแก่ประชาชน(มีเลขฆท.)​


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *