อ่านหนังสือ จำแม่น นักประสาทวิทยา

เทคนิคอ่านหนังสือให้จำได้แม่นยำ

พี่ไม่ใช่นักประสาทวิทยานะครับ แต่ข้อมูลที่พี่เอามา พี่สรุปจากโพสต์นี้ https://www.facebook.com/neurologistp/posts/744625165678792 ซึ่ง Admin page นี้เป็นหมอทางประสาทวิทยาครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าความจำของเรามีความจำ 3 แบบ คือ
1. ความจำระยะสั้นที่นำไปใช้ทันที (Immediate memory)
2. ความจำระยะสั้น (Short term memory)
3. ความจำระยะยาว (Long term memory)และแต่ละคนมีความสามารถในการจำไม่เท่ากันสำหรับการอ่านหนังสือสอบ ความจำแบบ Immediate memory ไม่ได้ใช้ เพราะความจำพวกนี้จะสั้นมาก อาจจำได้แค่ว่าเรากำลังขับรถจะเลี้ยวซ้ายเราหันไปมองทางขวาแล้วไม่มีรถเราจึงเลี้ยวซ้าย เป็นต้น

เพราะฉะนั้นการท่องหนังสือเพื่อไปสอบ ตัวความจำที่มีผลหลักๆคือความจำระยะสั้น (Short term memory) กับความจำระยะยาว (Long term memory)

ความจำระยะสั้นจะมีผลมากต่อการท่องหนังสือ 1-3 วันก่อนสอบ โดยปริมาณของความจำระยะสั้นที่คงเหลือแปรผันผกผันกับปริมาณข้อมูลที่จำและระยะเวลาที่ผ่านไป เพราะฉะนั้นการเร่งท่องหนังสือไปสอบ เป็นอะไรที่ใช้ได้ผล แต่หากท่องไปเยอะมากๆ ปริมาณข้อมูลที่น้องจำได้ก็จะสลายอย่างรวดเร็วด้วยเหมือนกัน

ดังนั้นการอ่านหนังสือสอบที่ได้ผลดีที่สุดคือ การเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาว

วิธีการเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาวคือ
1. รวบรวม
2. ทำซ้ำๆ 

เพราะฉะนั้นเวลาน้องอ่านหนังสือสอบ หากน้องพยายามรวบรวมข้อมูล คิดวิเคราะห์ และอ่านซ้ำๆหลายๆรอบ ก็จะทำให้สมองน้องมีการมีการ synaptic เพิ่มขึ้นใน hippocampus และสร้าง myelin เพิ่มในตำแหน่งต่างๆของ white matter ซึ่งจะทำให้ความจำระยะสั้นเกิดเป็นความจำระยะยาวในที่สุด

เพราะฉะนั้นน้องลองนึกดูนะครับ ว่าการทำอะไรบ้าง ทำให้เกิด 2 กระบวนการนี้
– ฟังครูสอน แล้วมาอ่านทบทวน (เกิดการทำซ้ำ)
– การอ่านซ้ำหลายๆรอบ (เกิดการทำซ้ำ)
– การทำ Mind-Map (เกิดการรวบรวม)
– เขียนสรุปบทเรียน (เกิดการทำซ้ำและรวบรวม)
– สอนคนอื่น (เกิดการทำซ้ำและรวบรวม)นอกจากนี้ วิธีการจำแบบ step approach (เป็นขั้นเป็นตอน) ก็สามารถช่วยให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาวได้เร็วขึ้น น้องลองสังเกตุดูว่า เวลาน้องนึกอะไรที่ต้องทำเป็น step 1 2 3 4 5 จะจำได้ดีกว่า เช่นน้องจะต้องจำคำว่า สเตอบอรี่, ไอศครีม, 7-11, น้องมายด์, ตุ๊กตาหมี หากพี่ให้น้องอ่าน 3 รอบ แล้วอีก 3 วันมาถาม น้องว่า น้องยังจำได้ไหม? แต่ถ้าน้องจำเป็นเหตุการณ์และไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น  ตอนเช้าน้องไปตลาดเพื่อซื้อสเตอบอรี่ จากนั้นก็พบกับน้องมายด์ที่กำลังถือตุ๊กตาหมีอยู่ น้องมายด์อยากกินไอศครีมจึงชวนกันไป 7-11 การทำเป็นขั้นเป็นตอน ลำดับเหตุการณ์ เป็นเรื่องราว ด้วยมีภาพเหตุการณ์อยู่ในหัว จะทำให้น้องจำได้ดีขึ้นอีกอย่างที่มีผลต่อความจำคือ อารมณ์ โดยหากความจำนั้น มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง จะทำให้ความจำนั้นกลายเป็นความจำระยะยาวได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น น้องยังจำแฟนเก่าได้ไม่ลืม หรือ ในบทเรียนสังคมตั้งแต่ประถม เราจำเหตุการณ์พม่าเผากรงศรีได้ดี เพราะเรามีอารมณ์โกรธเข้ามาร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม กระบวนการรวบรวมและทำซ้ำ จะเกิดขึ้นได้ดีหรือเปล่าขึ้นอยู่กับความตั้งใจ (Attention) ซึ่งมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองส่วน Prefrontal cortex จากการศึกษาพบว่าวัยรุ่นช่วงอายุ 10-20 ปี มักมีสมาธิไม่ดี (ใช้สมองหลายส่วนกว่าผู้ใหญ่ แต่เป็นส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนเลย) ในขณะที่ผู้ใหญ่ใช้สมองน้อยส่วนกว่าเด็ก แต่จะมีสมาธิดีกว่า และพบว่าการใช้ smartphone ทำให้สมาธิในการเรียนน้อยลง

การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ มีผลต่อสมองส่วน hippocampal (ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว) ซึ่งควรนอนให้ได้อย่างน้อย 4 รอบของการนอน (1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพราะฉะนั้นควรนอนอย่างน้อย 6 ชม. หรือ 5-7 ชม. สำหรับผู้ใหญ่ แต่ในเด็กวัยรุ่น 1 รอบจะยาวกว่าเล็กน้อย ดังนั้นน้องควรนอนประมาณ 7-9 ชม.)

สำหรับสรุป พี่ขอ copy ต้นฉบับมาเลยนะครับ
ความเห็นพี่สำหรับความจำและความตั้งใจสำหรับการอ่านหนังสือสอบ คือ

– เรื่องที่ชอบอ่านแล้ว ทำ Step-approach หรือ mind map ไว้ จะได้ไม่ต้องทวนซ้ำมาก
– เรื่องที่ไม่ค่อยชอบอาจจะต้อง Repetitive ทวนซ้ำเล็กน้อย
– แม้จะไม่ใช้หลัก No pain no gain (ไม่ใช่อารมณ์ช่วยในการจำ) แต่การมี Step Mapping ในการจำก็ช่วยได้
– ห่างไกล Smartphone เวลาเรียนหรืออ่านหนังสือ
– ไม่ต้องใช้เวลามากแต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

เพิ่มเติม (อันนี้พี่เพิ่มเอง)

หลีกเลี่ยงอาหารที่มี trans-fat (trans-fat คืออะไรอ่านเพิ่มใน https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C )
(พวกขนมปังในร้านสะดวกซื้อ ก่อนซื้อ ดูก่อนก็ดี มีมาการีนกี่ % มีเนยขาวกี่ %) เพราะหลังๆกีการพบความสัมพันธ์ระหว่างความจำและความเข้าใจที่แย่ลงกับการทาน trans-fat ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากการที่ trans-fats ทำให้ cell membrane ในระบบประสาท เสียความ flexible และเกิด rigidity ทำให้การส่งกระแสประสาทเกิดได้ช้าลง ที่อเมริกากำหนดว่าในอาหารห้ามมี trans-fat เกิน 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค แต่ที่ไทย ใส่เท่าไรก็ได้ ไม่ได้ห้าม

จริงๆ ถ้าน้องสนใจศึกษาเทคนิคที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจำ มีหนังสือ how to อยู่มากมายครับ อย่างเช่น


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *