นักศึกษาฆ่าตัวตาย 6 คน ใน 1 สัปดาห์ เด็กมีปัญหา หรือผู้ใหญ่สร้างปัญหาไว้ให้เด็ก

พอดีระหว่างเล่น facebook ไปเพลินๆ ก็ไปเจอโพสต์ของหมอคนนึงที่น่าสนใจครับ

จริงอย่างที่ว่าครับ ผู้ใหญ่ ทิ้งปัญหาไว้ให้เด็ก มากมายเหลือเกิน
ทั้งการศึกษา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม

ผู้ใหญ่หลายคน ก็มองว่าเด็ก คือตัวปัญหา จนลืมไปเด็ก ก็คือผลผลิตของคนรุ่นพวกเขา

และถ้ามีเด็กสักคน กล้าออกมาบอกว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่คิดหรือทำมันผิด ผู้ใหญ่ก็จะบอกว่า เด็กคนนั้นมีปัญหา

พี่เองเป็นแอดมินคนแรกของเพจนี้ และเป็นแอดมินที่มีอายุมากที่สุดของเพจนี้ ส่วนตัวพี่เป็นคน gen y คน gen y โชคดีกว่า gen z ตรงที่ ตอนที่ gen y กำลังเติบโต ตอนนั้นเศรษฐกิจดีกว่าตอนนี้มาก แล้วคน gen y จะค่อนข้าง indy วิ่งในทุ่งยูนิคอร์น ดอกวาเลนเดอร์เต็มสวน จะออกไปแตะขอบฟ้า ทำให้ถึงแม้จะมีความอดทนต่ำ ก็ไม่ถึงกับมีปัญหาเรื่องฆ่าตัวตายมากขนาดนี้มาก่อน

ในขณะที่ช่วงที่น้องๆ gen z เติบโตมา เป็นช่วงเศรษฐกิจกำลังหดตัว ประกอบอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านยุคสมัย ทำให้น้องค่อนข้างอยู่กับความเป็นจริง กดดัน เชื่อในการกระทำมากกว่าวาดฝัน และกังวลกับอนาคต แถมยังต้องแบกความหวังของผู้ใหญ่มากมาย หลายคนเป็นลูกหลานคนเดียวของตระกูล ที่ต้องดูแลพ่อแม่พี่ป้าน้าอานับสิบ และพี่สังเกตุว่าน้องๆ gen z จะค่อนข้างอินกับการเมืองมาก หรืออย่างน้อยก็อินและจริงจังกว่ามาก คนรุ่นพี่มาก จึงไม่แปลกหากจะเป็นซึมเศร้ากันมากมาย

ในแง่ของการทำงาน อยากให้กำลังใจน้องว่า ช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาที่หางานยาก แต่นั่นไม่ใช่เพราะน้องไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพราะองค์กรกำลังอยู่ในช่วงปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของประชากรและเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน แต่องค์กรมักไม่ใช้วิธีปลดคนเก่าออก แต่จะใช้วิธีลดการรับเด็กใหม่เข้ามาแทน ซึ่งในอีกประมาณ 5-10 ปี เมื่อคนเก่าซึ่งเป็น generation ที่มีมากที่สุดทยอยกันเกษียณอายุการทำงาน ความต้องการคนทำงานจะกลับมาพุ่งสูงอีกครั้ง สำคัญคือเมื่อถึงเวลานั้น น้องจะต้องยังสามารถรักษา skill การทำงานเอาไว้ได้

คนทุกรุ่นต่างก็มีข้อดี ข้อเสีย และช่วงเวลาทองของตนเอง

อันที่จริง ถ้าใครเข้าใจ จะพบว่า คนทุกรุ่น ล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อยในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นกับสิ่งที่คนเหล่านั้นได้เรียนรู้ ยกตัวอย่างคนรุ่น babyboomer เติบโตมาในช่วงหลังสงคราม ความต้องการสินค้า มากกว่าความต้องการขาย คนเยอะ การแก่งแย่งแข่งขันสูง คนยุค babyboomer จึงมีความอดทนสูง เชื่อมั่นในกฏระเบียบและแบบแผน ทำงานซ้ำๆได้ดี รักและซื่อสัตย์กับองค์กร

พอมาคนรุ่น Gen X ก็รู้สึกการทำงานแบบหามหุ่งหามค่ำแบบ babyboomer ไม่น่าเวิร์ก เลยมีแนวความคิดแบบ work-life balance เน้นที่ performance และ productivity มากกว่าเวลาในการทำงาน แม้ว่าคน gen X จะถือว่าหัวขบถในยุคนั้น แต่คน gen X ก็รอจนถึงเวลาของตัวเองมีอำนาจ ไม่ใช่วิธีรีบร้อนหักดิบแบบคน gen Y แต่น่าเศร้าที่คนรุ่น babyboomer ค่อนจะรักเก้าอี้ ห่วงตำแหน่ง แถม gen X ยังเป็นพวกไม่หวงอำนาจอีกต่างหาก ช่วงเวลาที่ gen X มีอำนาจในการขับเคลื่อนจริงๆจึงมีแค่ช่วงสั้นๆ ผิดกับ gen Y ที่ต้องการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และมี talent ที่ขึ้นเป็นผู้บริหารตั้งแต่อายุน้อยมากมาย

พอมา Gen Y ทุกอย่างสบายแล้ว เพราะความขยันของคนรุ่น babyboomer และความเป็นมืออาชีพของ Gen X คน gen Y เลยมีแนวคิดแบบหนักไปทางใช้แต่ life ไม่ค่อย work แล้ว ในทางกลับกันเค้าก็เห็นว่าไอการรอคอยแบบคน Gen X มันไม่ค่อยเวิร์ก ก็เลยอยากประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อย จะออกไปแตะขอบฟ้า แล้วก็มองว่าการทำงานหนักแบบ babyboomer เป็นเรื่องล้าสมัย เพราะมีวิธีที่ง่ายและสบายกว่ามาก

พอมา Gen Z ก็พบว่า ไอการหาความมั่นคงไม่ได้ และออกไปแตะขอบฟ้าแบบ Gen Y นี่ ตกลงมาเป็นศพซะมากกว่าบินสำเร็จ คน Gen Z จึงมีแนวโน้มรักความมั่นคง มองว่าการกระทำดีกว่าวาดฝันแบบ Gen Y แต่ก็เติบโตมาในช่วงเวลาที่ประชากรและเศรษฐกิจกำลังหดตัว จึงต้องแบกรับความหวังสูง และกังวลกับอนาคต

สุดท้ายนี้ ในฐานะคน gen y คนนึง ก็ต้องถามตัวเองเหมือนกันว่า ได้สร้างปัญหาอะไรไว้ให้คนรุ่นหลังหรือเปล่า


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *