กรณีศึกษา กฟผ. และ SCB กับการจ้างงานอนาคต

จากข่าว >>>> ยุคบัณฑิตตกงาน-ยากจน

ข่าวนี้เป็นข่าวเมื่อปี 60 แต่พี่เอามา เพื่อต้องการชี้ให้เห็นว่ามันเกี่ยวกับการลดพนักงานของ กฟผ. และ SCB ไปก่อนหน้านี้

รูปแบบการลดพนักงานของ กฟผ. และ SCB เป็นกรณีตัวอย่างที่ดี ที่จะบอกเราว่า ลักษณะการจ้างงานขององต์กรในอนาคตข้างหน้า จะเป็นแบบไหน พี่ขออธิบายดังนี้

เมื่อคนแก่เยอะ เด็กเกิดน้อย ส่งผลให้การบริโภคหดตัว ประกอบกับเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นมาเติมเต็มนั้น จะทำให้องค์กรต่างๆ ตัดสินใจลดพนักงาน โดยใช้เทคโนโลยีมาแทนที่

แต่!!!! รูปแบบจะเหมือนๆกับ กฟผ. และ SCB คือ องค์กรส่วนใหญ่จะไม่ได้ปลดคนออกในทันทีทันใด แต่จะมาในลักษณะ เมื่อคนเก่าเกษียณไป “จะไม่มีการจ้างคนใหม่มาแทนที่” โดยจะค่อยๆนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนทีละนิด

นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขตกงานของเด็กจบใหม่ พุ่งสูงขึ้นในทุกปี

นอกจากนี้ หากเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ โดยเฉพาะพนักงานที่มีบำนาญ ให้ดูยุโรปและญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง ลักษณะที่ออกมาจะเป็น ค่อยๆถูกเลื่อนวันเกษียณไปเรื่อยๆ จนไม่มีวันเกษียณในที่สุด (คือมันมีแหละ แต่พอถึงเวลาจริงก็โดนเลื่อนออกไปเรื่อยๆ สุดท้ายคือไม่มีวันเกษียณ แต่จะเป็นทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดสภาพ ทำงานไม่ไหวอีก)

งานที่ทำซ้ำๆ รวมถึงงานที่เฉพาะด้านมากๆ จะค่อยๆถูกเทคโนโลยีมาแทนที่ ดังนั้นทักษะของพนักงานในอนาคต จึงไม่ใช่ เก่งเฉพาะด้าน อีกต่อไป แต่เป็น multiskill ทำงานได้หลายอย่าง เพื่อ fulfill ในจุดที่เทคโนโลยียังไม่ได้มาทำ หรือยังไม่คุ้มที่จะซื้อเทคโนโลยีเข้ามาทำ และชดเชยจำนวนคนที่ลดลง เช่น จาก 10 เหลือ 1 คน ดังนั้น 1 คน ที่เหลืออยู่ มันต้องทำเป็นหลายๆอย่าง แต่จะไม่ได้เสียเวลากับงานๆเดียวเยอะแบบแต่ก่อนแล้ว เพราะมีเทคโนโลยีมาช่วยแล้ว เพราะฉะนั้น “หมดยุคฉลาดลึกแต่โง่กว้างแล้ว”


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *