สรุปคดีพิพาทระหว่างวิชาชีพของเภสัช

1. แพทย์แผนไทยฟ้องคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม (คดีหมายเลขดำที่ อร. 339/2563 คดีหมายเลขแดงที่ อร. 283/2566)

ประเด็นฟ้อง “ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร เป็นการก้าวล้ำการประกอบวิชาชีพของแพทย์แผนไทย”

รายละเอียดเต็ม >>> https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2563/09012-630339-1f-661128-0000763050.pdf

คำตัดสิน

“ยกฟ้อง”

แนววินิจฉัยที่สำคัญ

  • “การประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย มีการกระทำเกี่ยวกับตัวยาที่เป็นสมุนไพร โดยอาศัยองค์ความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมาของการแพทย์แผนไทยเท่านั้น ส่วนการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชกรรมสมุนไพร อาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์”
  • “พ.ร.บ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย มิได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับยามาตั้งแต่เดิมศึกษาหรือดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับยาสมุนไพร ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรมไทยจึงสามารถเตรียมยา ผลิตยา ปรุงยาหรือจ่ายยาสมุนไพรตามแนวทางวิชาชีพของตนได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากองค์กรอื่น”

2.นายกสภาเทคนิคการแพทย์ฟ้องสภาเภสัชกรรม (คดีหมายเลขดำที่ 223/2565 คดีหมายเลขแดงที่ 2585/2567)

ประเด็นฟ้อง “ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) ที่พูดถึงเรื่องการเจาะเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว เป็นการก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์”

คำตัดสิน

“ยกฟ้อง”

แนววินิจฉัยที่สำคัญ

    • “การเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับสารต่างๆโดยเครื่องมือแบบพกพา เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้คำปรึกษาด้านยาและขนาดการใช้ยา อยู่ในขอบข่ายการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยา”
    • “การใช้เครื่องมือแพทย์ที่บุคคลทั่วไปที่มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (self use) สามารถทำการทดสอบได้เอง กรณีการเจาะเลือดดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบใดๆต่อการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์”

    3. แพทยสภาฟ้อง สปสช และ สภาเภสัชกรรม (ศาลปกครองกลาง งานคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 2151/2567 ยังไม่ออกคดีหมายเลขแดง)

    ประเด็นฟ้อง “ประกาศ สปสช. เรื่องโครงการ CI 16 กลุ่มโรคในร้านยา เป็นการออกประกาศที่เกินกว่าวิชาชีพเภสัชกรรมสามารถกระทำได้”

    คำตัดสิน

    ยังไม่ตัดสิน (อยู่ระหว่างการพิจารณา)

    4. สภาเภสัชกรรมฟ้องสภาการพยาบาล (ศาลปกครองกลาง งานคดีปกครอง 2696/2565 ยังไม่ออกคดีหมายเลขแดง)

    ประเด็นฟ้อง “การออกประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง กำหนดรายการยาและสารวินิจฉัย สำหรับพยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเวชปฏิบัติในการรักษาโรคเบื้องต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

    คำตัดสิน

    ยังไม่ตัดสิน (อยู่ระหว่างการพิจารณา)


    Share this:

    Posted in ข้อมูล/ข่าวแวดวงเภสัช.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *