Dek 61 เตรียมตัว เคลียริ่งเฮาส์ 2 รอบ ฟื้นระบบเอ็นทรานซ์

จากข่าวนี้ ต้องใช้แต้มม.ปลาย!! อดีตเลขาฯ กกอ.หนุนใช้ ‘เคลียริ่งเฮาส์’ 2 รอบ แต่ต้องใช้คะแนนม.ปลายกันเด็กทิ้งห้อง-สกัดกวดวิชา

หลังเด็กได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ประมาณกลางเดือนมีนาคม หลังจากนั้นจะเปิดสอบทั้ง GAT และ PAT และการสอบวิชาสามัญ 9 วิชา โดยจะใช้เวลาในการจัดสอบวิชาต่างๆ ประมาณ 6 สัปดาห์-2 เดือน โดยที่จะไม่ยอมให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกห้วงเวลานี้ เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ

หลังจากเด็กทราบคะแนนของตนเองแล้ว จะเปิดให้เด็กเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียนได้ 4 อันดับ เมื่อเด็กเลือกแล้ว มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮาส์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 2 รอบ โดยรอบแรก เมื่อเด็กยื่นคะแนนไปยังมหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยจะส่งชื่อเด็กที่ผ่านการคัดเลือกเข้าระบบเคลียริ่งเฮาส์ และแจ้งกลับไปยังเด็กว่าได้รับการคัดเลือกกี่แห่ง และจะเลือกเรียนตามลำดับที่สอบได้หรือไม่ ซึ่งหากเด็กยังไม่พอใจในคณะ/สาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริ่งเฮาส์รอบที่ 2

“การรับเด็กในระบบนี้จะเรียกว่าการรับตรงกลางร่วมกันซึ่งจะให้เด็กสอบรอบเดียว แต่สามารถนำคะแนนมาเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮาส์ได้ 2 รอบ ซึ่งคิดว่าจะสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้ประมาณ 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เด็กสามารถไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น อนาคตก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลางอีกต่อไป

สรุปแล้วก็เหมือนรับตรงกลางร่วมกันครั้งใหญ่ผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้า ข้อดีคือแก้ปัญหาเด็กวิ่งรอบสอบได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เปิดช่องไว้นิดหน่อยตรง “ไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากจะให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลที่ดีมาชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.รับทราบ” ซึ่งตรงนี้มหาวิทยาลัยหาเหตุผลได้อยู่แล้วแหละ ไม่ได้ยากเลย อย่าง มข. สามารถอ้างได้เลยว่า พันธกิจของมหาวิทยาลัยคือการสร้างโอกาสทางการศึกษาชั้นสูงให้แก่เด็กในภาคอีสาน ดังนั้นจึงขอรับตรงในส่วนของโควต้าภาคอีสานเป็นการเฉพาะ ยังไงก็ต้องรอติดตามผลกันต่อไปนะครับ

 


Share this:

Posted in ข่าวสาร Admission.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *