คณะเภสัชศาสตร์ เรียนกี่ปี

ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์มีเพียงหลักสูตรเดียวคือหลักสูตร 6 ปี ได้ปริญญา Doctor of Pharmacy หรือ Pharm.D. เพราะฉะนั้นคำตอบของคำถามนี้คือ 6 ปี !!!

ซึ่งหลักสูตร 6 ปี แบ่งเป็น 2 สาขาหลักๆ คือ

  1. อุตสาหการ
  2. บริบาล

สำหรับความแตกต่างของทั้ง 2 หลักสูตร พี่เขียนไว้ในโพสต์นี้ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมกับเภสัชกรรมอุตสาหการต่างกันอย่างไร

สำหรับหลักสูตร 5 ปี (Bachelor of Pharmacy หรือ B.Pharm) ปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะสภาเภสัชกรรมไม่รับรองหลักสูตร 5 ปี ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ดังนั้น นศ.ที่เรียนหลักสูตร 5 ปีรุ่นสุดท้ายคือปี 2551 ซึ่งปัจจุบันเรียนจบกันไปหมดแล้วครับ

อนาคตจะเป็นอย่างไร

แอบกระซิบนิดนึง มีข้อมูลวงในจากสภาเภสัชกรรมมาว่า สภาเภสัชกรรมเสนอให้มีการปรับหลักสูตรเป็น 4 ปี + 2 ปี คือฟิลประมาณว่า ไหนๆก็สอบใบประกอบรวมตอนปี 4 แล้ว ก็จบไป 1 ขั้น แล้วมาเรียนต่อแยกสาขาเฉพาะด้าน (อุตสาหการ หรือ บริบาล หรืออื่นๆ อีก 2 ปี) ซึ่งมันก็จะสอดคล้องกับสอบใบประกอบวิชาชีพเฉพาะสายตอนปี 6 อีกใบ โดยทาง สภาเภสัชกรรม ให้เหตุผลว่า “กำลังจะจัดหลักสูตรใหม่ให้เภสัชกรจบมาแล้วตอบความต้องการของตลาด อยู่ในช่วงของการปรึกษาหารือกันอยู่กับ มหาวิทยาลัยต่างๆอยู่” แต่สำหรับรายละเอียดและแนวทาง ยังอยู่ระหว่างการหารือครับ ซึ่งบอกเลยว่า อีกนานครับ กว่าจะได้มีการปรับหลักสูตรกัน หรืออาจจะไม่มีการปรับเลยก็ได้ เพราะมันยังเป็นแค่แนวคิดขั้นต้นจริงๆครับ ยังต้องหารือ สำรวจ ทำแบบสอบถามอะไรอีกเยอะมาก

ปล.แถมรูปในที่ประชุมเรื่องหลักสูตร 4+2 ปีครับ จะเห็นได้ว่า รายละเอียดยังไม่มีอะไรเลย หรือแม้แต่รายละเอียดของสาขาใน 2 ปีให้หลัง ก็ยังไม่ได้มีข้อสรุปด้วยซ้ำว่าจะมีสาขาอะไรบ้าง (มีแนวโน้มว่าสาขาบริบาลจะเป็น 6 ปียาวๆเลย เหมือนของต่างประเทศ แต่อุตสาหการจะเป็น 4+2 ปี แล้วแบ่งย่อยเป็นสาขาต่างๆ แต่ก็ยังไม่ชัวร์อีกนั่นแหละ เพราะแนวโน้มอันนี้ มันก็แค่แนวคิดนึงที่ถูกเสนอในที่ประชุมเท่านั้น)


Share this:

Posted in การเรียนเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *