การสัมมนา ฉบับนักศึกษาเภสัชศาสตร์

เนื้อหาการเรียนในคณะเภสัชเป็นอะไรที่เข้มข้น น้องรู้ พี่รู้ นศภ. ทุกคนรู้ และนอกเหนือจากเนื้อหาอันเข้มข้นแล้ว ระหว่างการเรียนคณะเภสัชฯ ก็ยังจะต้องเจองานโหด ๆ อีกมากมาย

ซึ่งสำหรับแอดมินที่เป็น นศภ. ปีสาม วันนี้ก็อยากจะมารีวิวงานหนึ่งที่โหดเป็นอันดับต้น ๆ ที่แอดเคยเจอมา นั่นคืองานที่เรียกว่างานสัมนา (Seminar) ค่ะ
บางทีก็เป็นสัมนา บางทีก็เป็น PBL (Problem-Base learning) เอาเป็นว่ารูปแบบของมันก็จะคล้าย ๆ กัน คือ อาจารย์โยนโจทย์หรือหัวข้อให้เด็กข้อหนึ่ง จากนั้นก็ให้เด็กไปสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมานำเสนอเพื่อน ๆ ตามห้วข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ โดยที่ในการทำงานของทุกกลุ่มก็จะมี “อาจารย์ที่ปรึกษา” คอยประกบอย่างใกล้ชิด

สัมมนา (ต่อไปนี้แอดขอเรียกว่า “เซมินาร์” หรือ “เซม” นะคะ) ที่แอดเคยทำมามีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งหัวข้อง่าย ๆ หรือโหด ๆ ก็สลับกันไปตามดวงในแต่ละเทอม

ในคณะที่แอดเรียนอยู่ นักศึกษาต้องทำเซมินาร์ทุกเทอม เริ่มตั้งแต่ปีสองเทอมหนึ่งมาจนถึงตอนนี้ที่เป็นปีสามเทอมสอง แอดก็ยังต้องทำอยู่เรื่อย ๆ ความยากของหัวข้อและโจทย์ที่ได้รับก็จะยกระดับขึ้นตามระดับชั้นที่เราเรียน เรียกได้ว่าแม้บางครั้งแอดอาจจะได้ทำหัวข้อที่ง่ายกว่าเพื่อนในชั้นปีเดียวกันไปบ้าง แต่ไม่มีงานไหนที่ออกปากได้ว่าชิวสักงานเลยแหละค่ะ งานยากลากเลือดเหมือนกันหมด ยิ่งถ้าเทอมไหนแจ็คพอตได้หัวข้อที่ยากกว่าเพื่อนเข้าไปอีกก็คือ สู่ขิต 555555

หลังจากได้หัวข้อมาแล้วว่าสรุปเราได้ทำเรื่องอะไร ขั้นตอนต่อมาคือการคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ การคุยครั้งแรกส่วนมากจะดป็นการคุยถึงขอบเขต (Outline) ว่าเราอยากจะให้งานออกมาประมาณไหนมรยาถึงรายละเอียดและคำใบ้คร่าว ๆ ที่อาจารย์มห้เป็นพ้อนต์ที่เราต้องไปศึกษาต่อเอง
ขั้นตอนต่อมา คือการคุยกับเพื่อน แบ่งงานกับเพื่อนให้เรียบร้อย จากนั้นก็หาข้อมูล ทีนี้ขั้นตอนการหาข้อมูลนี่ถือว่าเป็นอีกขั้นตอนที่ทรหดประมาณนึงเลย เพราะความรู้ระดับมหาวิทยาลัยเป็นความรู้ที่ไม่สามารถใช้เว็บไซต์ภาษาไทยค้นหาได้ แหล่งข้อมูลหลัก ๆ มักมาจากงานวิจัยในวารสารต่างประเทศ ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วน ๆ ศัพท์เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์เรียงมาเป็นพรืด และเราก็จะค่อนข้างซีเรียสเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล ว่าข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้มั้ย สามารถนำมันมาใช้ได้หรือเปล่า ไม่สามารถเอาข้อมูลมาจากวิกิพีเดียเหมือนตอนมัธยมได้แล้วนะคะ

หลังจากหาข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการซ้อมพรีเซนต์ ทีนี้จะซ้อมพรีเซนต์กันเองภายในกลุ่มก่อน หรือรอซ้อมต่อหน้าอาจารย์ทีเดียยวก็แล้วแต่การจัดการของแต่ละกลุ่มไป ส่วนใหญ่พอได้พรีเซนต์กับอาจารย์แล้วสิ่งที่ได้รับกลับมามักเป็น การสั่งแก้ 555555 ไม่เคยเลยค่ะที่งานนี่จะผ่านตั้งแต่ดราฟท์แรก แก้ตลอด บางทีไปซ้อมพรีเซนต์กับอาจารย์หลายครั้ง ก็โดนแก้มันทุกครั้ง 555555

ขั้นตอนในการพรีเซนต์จริง ขั้นตอนนี้ความท้าทายของเราคือ เราจะพรีเซนต์ยัไงให้เพื่อนของเราเข้าใจในเนื้อหาของเรา เพราะการพรีเซนต์ครั้งนี้ไม่ได้พรีเซนต์เปล่า ๆ แต่ตอนพรีเซนต์จบ เพื่อนต้องทำแบบทดสอบย่อย (Quiz) ของหัวข้อของเราที่อาจารย์ออกมาให้ได้

การพรีเซนต์ก็จะมีทั้งพรีเซนต์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แล้วแต่ว่าเป็นงานไหนของวิชาอะไร ถ้าเป็นการพรีเซนต์ภาษาอังกฤษก็จะโหดหน่อย เพราะคนสำเนียงดีไม่ได้หมายความว่าเพื่อนจะฟังรู้เรื่องเสมอไป หรือแม้แต่ในมุมของเพื่อน การที่เปลี่ยนคนพรีเซนต์ แล้วสำเนียงที่ใช้ในการพรีเซนต์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องปรับหัว ปรับหูของตัวเองให้พร้อม 555555

การทำงานเซมินาร์ที่เป็นลักษณะของเพื่อนสอนเพื่อน อาจมีข้อเสียคือโหดไปบ้าง บางทีแอดถึงกับใช้คำว่า “ตกนรกหมกไหม้” เลยล่ะค่ะ บางทีก็รู้สึกว่าตัวเองต้องกินงานวิจัยเป็นอาหาร บางทีวันหนึ่ง ๆ นั่งอ่านงานวิจัยจนตาลาย ก็ยังไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการมาได้อยู่ดี
แต่ข้อดีของมันคืออย่างน้อยเมื่องานจบ เราจะมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อที่เราทำอย่างแท้จริง และการพรีเซนต์ในลักษณะของเพื่อนสอนเพื่อน เพื่อนจ

เข้าใจว่าควรค่อย ๆ อธิบายยังไงเพื่อให้เพื่อนคนอื่นเข้าใจ คือพวกเราจะเข้าใจกันเองมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งมันจะแตกต่างจากอาจารย์ที่บางทีอาจารย์ก็จะแค่สอนไปเรื่อย ๆ และด้วยวัยและองค์รวามรู้ที่ต่างกัน ทำให้หลายครั้งเราก็จะตามอาจารย์ไม่ค่อยทันได้ การมีเซมินาร์ก็เพื่อกลบจุดด้อยตรงนี้ในการเรียนภายในคณะ

ระหว่างพรีเซนต์ อาจเจอคำถามหรือการสอนเสริมบางอย่างจากอาจารย์เป็นระยะ ๆ อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องเสี่ยงดวง อาจารย์ทุกคนหวังดีต่อเราและอยากให้เราเก่ง แต่วิธีการของอาจารย์แตกต่างกัน บางคนแผ่บรรยากาศกดดันออกมาจนตัวลีบติดผนังห้องก็มี แต่สำหรับคนเก่งจริง อาจใช้โอกาสนี้ในการไชน์ก็เป็นได้นะ 😂

สุดท้ายนี้ แอดไม่รู้ว่าจะเขียนจบยังไงไม่ให้มันจบห้วนเกิน ตันมาก ก็เลยเขียนเพิ่มมาอีกบรรทัดเพื่อบอกว่า บทความนี้จบแล้วค่ะ (ห้วนน้อยลงมั้ยเนี่ย 55555555)


Share this:

Posted in การเรียนเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *