“Microbiology วิชาจุลชีววิทยา” การเกิดโรค และการรักษา

ถ้าพูดถึงวิชาที่ต้องจำโหดมากๆ ในการเรียนคณะเภสัช หลายคนคงนึกถึง “วิชาไมโคร” ตัวร้ายที่เสกให้นักศกษาหลายคนกลายเป็นควายได้ (อุปส์ 555555)

วิชาไมโครจะเกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงยาต่างๆ ที่ใช้ในการรักษา การเรียนในวิชานี้จะนำพาให้เราเข้าสู่อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อาณาจักรหนึ่ง ดูว่ามันมีชีวิตยังไง เติบโตอย่างไร มีโครงสร้างเป็นไง และทำไมถึงก่อให้เกิดโรค นอกจากนี้ จะยังมีอีกวิชานึงที่เกี่ยวเนื่องกันคือ “Immunology ภูมิคุ้มกันวิทยา” วิชาว่าด้วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา ว่ามีวิธีการจัดการกับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกายอย่างไรบ้าง

การเรียนวิชาไมโคร เป็นวิชาที่แทบจะเรียกได้ว่า ต้องท่องจำล้วนๆ แทบไม่มีคสามเข้าใจผสม ชื่อเชื้อโรคประหลาดๆ ยกตัวอย่างเช่น “โคโรนาไวรัส” เวลาเรียน จะไม่ท่องเป็นโคโรนาไวรัสกันนะคะ เราจะท่องกันเป็น “Orthocoronavirinae” ซึ่งใครอ่านถูกก็ดีไป แต่ถ้าใครอ่านชื่อเชื้อไม่ถูกไม่ต้องเสียใจค่ะ เป็นเรื่องปกติ 555555 หลายคนในนี้ก็ถือคติว่า อ่านถูกไม่ถูกไม่เป็นไร ขอแค่เขียนได้สะกดถูกเป็นพอ

แต่มันก็จะมีบางเชื้อนะคะ ที่ต้องเจอบ่อยๆ จนนักศึกษาหลายคนเริ่มท่องจำกันได้ เช่น “เชื้อดื้อยา ESKAPE” ที่ต้องเฝ้าระวังกันทั่วโลก ประกอบด้วย

Enterococcus faecium
Staphylococcus aureus
Klebsiella pneumoniae
Acinetobacter baumannii
Pseudomonas aeruginosa
Enterobacter spp.

ลองอ่านกันดูนะ 55555555

การเรียนวิชาไมโครเป็นอะไรที่ท้าทายชีวิตสุดๆ เพื่อนหลายคนมักจะเก็บไว้อ่านเป็นวิชาท้ายๆ เพราะเป็นวิชาที่จำยากลืมง่ายมาก ไม่ว่าจะอ่านมาแล้วกี่รอบ พอกลับมาอ่านใหม่ก็รู้สึกไม่มีอะไรในหัวเหมือนอ่านครั้งแรก เหมือนเป็นความรักกับคนรัก ไม่ว่าพบเจอกันกี่ครั้ง ก็รู้สึกเหมือนเป็นครั้งแรกเสมอ 5555555

เทคนิคในการเรียนวิชานี้ คือทุกครั้งเวลาที่เครียดมากจนอยากลาออก ให้ถือคติว่า “กูไม่ออก! ออกแล้วจะเอาอะไรแดก!” // แนบมีม

ขอบคุณค่า 😆


Share this:

Posted in การเรียนเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *