คิดสักนิดก่อนซิ่วออกจากคณะเภสัช เพราะคณะเภสัชบางมหาลัย “ลาออกแล้วต้องเสียค่าปรับ”

วันนี้แอดมาพร้อมคอนเทนต์ที่ซีเรียสนิดนึงเนอะ แต่คิดว่านี่ก็เป็นอีกเรื่องที่น้องๆ ควรรู้ไว้จริงๆ

คณะเภสัชบางมหาลัยจะมีการทำ “สัญญาผูกพันฝ่ายเดียว” โดยเนื้อความหลักๆ ในสัญญาก็จะมีว่า เมื่อตำแหน่งเภสัชกรขาดแคลน อาจมีการเรียกตัวให้ไปทำงานใช้ทุน (แต่ส่วนใหญ่ตำแหน่งไม่ค่อยว่างกันหรอก มีแต่เภสัชจะแย่งกันเข้าทำงาน) แต่สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ “การเสียค่าปรับเมื่อต้องลาออก”

แอดไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่ เพราะแต่ละมหาลัยก็ไม่เหมือนกัน โดยค่าปรับจะผันตามค่าเทอม ยิ่งค่าเทอมแพง ค่าปรับก็จะยิ่งแพง และค่าปรับจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว เมื่อน้องเรียนขึ้นไปในแต่ละชั้นปี

ยกตัวอย่าง (ตัวเลขทั้งหมดที่ยกมาเป็นเลขสมมติ ไม่อิงตามความจริง)

สมมติเรียน ม.A ค่าเทอม 25,000 บาท
ลาออกตอนปีหนึ่ง เสีย 50,000 บาท
ลาออกตอนปีสอง เสียเพิ่มอีกเท่าตัว คิดเป็น 100,000 บาท
และเพิ่มไปเรื่อยๆ ยิ่งลาออกตอนปีสูง ยิ่งเสียเยอะ

คือมันก็ใช่แหละที่บาง ม. ก็ไม่ต้องเสีย บาง ม. ก็ต่อรองไม่เสียได้ แต่หลายๆ ม. นักศึกษาก็ต้องเสียจริง
นี่ไม่ใช่แค่เคสซิ่วเท่านั้น แต่รวมถึงการลาออก หรือแม้กระทั่งรีไทร์ด้วย
ดังนั้น ถ้าคิดว่าจะเข้าเรียนเภสัชแล้วซิ่วออก แต่มีปัญหาเรื่องเงิน ก็อย่าลืมคิดดีๆ เรื่องการจ่ายค่าปรับเหล่านี้ด้วยนะคะ

เท่าที่รู้มาที่มหิดล กับ มศว ลาออกจริงๆ ไม่ต้องเสีย แล้วก็มี มข. ถ้าไปคุยกับทางคณะดีๆ อาจมีอลุ่มอล่วยให้เป็น case by case ถ้าน้องอยากลาออกจริงๆ แนะนำให้ไปคุยกับคณะดีๆ เพราะมันเป็นสัญญาที่ทำกับมหาลัย โดยมีคณะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากมหาลัยอีกที เพราะฉะนั้นคนที่มีอำนาจปรับเงินหรือไม่ปรับเงิน ก็คือมหาลัยของน้องนั้นแหละ แต่มหาลัยมักให้อำนาจคณะเป็นคนตัดสินใจ (ซึ่งมหาลัยไหนปรับจริงบ้าง ไม่ปรับจริงบ้าง ไม่อยากให้จำเป็นสรณะ เพราะถ้าบางทีเปลี่ยนคณบดี เปลี่ยนอธิการ นโยบายก็อาจเปลี่ยนได้ ไม่ได้ตายตัว)

อันนี้เป็นตัวอย่างหนังสือสัญญา พอน้องเข้าเรียนเภสัช มันจะมีหนังสือสัญญาหน้าตาแบบนี้ อันนี้เป็นตัวอย่างของ ม.บูรพา









Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *