ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “ร้านยาต้องมีเภสัชกร” โค้งสุดท้าย GPP Full Scale 🫱🏻‍🫲🏼 สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) พร้อมให้ความสนับสนุนเ…

ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “ร้านยาต้องมีเภสัชกร”
โค้งสุดท้าย GPP Full Scale 🫱🏻‍🫲🏼

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย)
พร้อมให้ความสนับสนุนเภสัชกรร้านยา
มาจับมือไปด้วยกันนะคะ 😊🤝🏻


สภาเภสัชกรรม ร่วมด้วย 8 สมาคมเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม
ประกาศเจตนารมณ์
_______________________
___________
___

ร้านยาต้องมีเภสัชกร*
___
___________
_______________________

25 มิถุนายน พ.ศ.2565 วันสุดท้าย !
สิ้นสุดช่วงเวลาผ่อนผันหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน : Good Pharmacy Practice (GPP) ถัดจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไป . . . ร้านยาต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ GPP อย่างเต็มรูปแบบ
สภาเภสัชกรร่วมส่งเสริม และสนับสนุนเภสัชกรร้านยา ให้ปฏิบัติตามเพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย และประชาชนผู้มาใช้บริการ
8 สมาคมเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม มีดังนี้
. . . .
1. เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
โดย ภก.ธีระ ฉกาจนโรดม (นายกสมาคมฯ)
“เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนให้ร้านขายยาทุกแห่ง มีเภสัชกรให้บริการประชาชนตลอดเวลาทำการ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และส่งมอบยาโดยเภสัชกร ตามมาตรฐานสากล GPP(Good Pharmacy Practice) หรือ มาตรฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรมเพื่อประชาชนใช้ยาอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของวิชาชีพเภสัชกรรม”
.
2. สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย)
โดย ภก.สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ (นายกสมาคมฯ)
“สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ขอแสดงจุดยืนที่ชัดเจนให้ร้านยาก้าวสู่มาตรฐานเดียวกันในการให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ให้เภสัชกรปฏิบัติงานในร้านยาตลอดเวลาที่เปิดทำการภายใน 25 มิถุนายน 2565 เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นที่น่าเชื่อถือต่อสังคม และสหวิชาชีพ”
.
3. สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ(ประเทศไทย)
โดย ภญ.รุ่งนภา อัมรินทร์นุเคราะห์ (นายกสมาคมฯ)
“สมาคมเภสัชอุตสาหการ (ประเทศไทย) ยึดมั่น
ในจรรยาบรรณวิชาชีพ และปฎิบัติการในทุกด้าน
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้ยาอย่างปลอดภัย พร้อม
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เภสัชกรที่ปฎิบัติการในร้านยา
ดำเนินงานตามข้อกำหนด GPP เต็มรูปแบบ
เพื่อการเข้าถึงยาของผู้บริโภคโดยการแนะนำการใช้ยาอย่างถูกต้องของเภสัชกรตามหลักวิชาการ
อย่างเคร่งครัด เหมาะสม”
.
4. สมาคมเภสัชกรรมการตลาด(ประเทศไทย)
ภก.ผดุงยศ พิสุทธาดามงคล (นายกสมาคมฯ)
“วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
และการบริหารเภสัชกิจ ร่วมปกป้องวิชาชีพ
และคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้ยา
ของประชาชน … เชิญชวนทุกท่าน
ร่วมรณรงค์ เภสัชกรไทยไม่แขวนป้าย
แขวนป้าย = ทำร้ายประชาชน
และทำลายวิชาชีพ”
.
5. สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์(ประเทศไทย)
โดย ภญ.ภัทรี สินอนันต์พัฒน์ (นายกสมาคมฯ)
“สมาชิก RAPAT พร้อมใจกันทำหน้าที่ ณ สถานที่ปฏิบัติการตามใบอนุญาตและข้อกำหนด GPP ขอดำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของเภสัชกรวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นที่ยอมรับประจักษ์ต่อสังคมและคุ้มครองประชาชนให้เกิดการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย”
.
6. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
โดย ภก.อำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ (นายกสมาคมฯ)
“25 มิถุนายน 2565 ครบกำหนดจะต้องมีเภสัชกรประจำร้านขายยา สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) ขอสนับสนุนให้เภสัชกรทุกคนปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ตามมาตรฐานเภสัชกรรมที่ดี รวมทั้งดำเนินการตามกฎหมายที่กำหนด เป็นที่พึ่งด้านสุขภาพอย่างแท้จริงให้กับประชาชน”
.
7. สมาคมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
โดย ภก.ประสาท ลิ่มดุลย์ (นายกสมาคมฯ)
“GPPเป็นเครื่องมือเดียวที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา และส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศไทย แต่มีการผ่อนผันการบังคับใช้มาโดยตลอดด้วยเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช่ด้านสุขภาพ … สมาคมฯ มีความเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องบังคับใช้ GPP อย่างจริงจังเพื่อให้ระบบยาและระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาของประเทศ เป็นระบบที่ช่วยให้สุขภาพของประชาชนได้ประโยชน์จากระบบยาอย่างแท้จริง”
.
8. คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย
โดย รศ.ดร.ภก.ไพบูลย์ ดาวสดใส (ประธานคณะกรรมการฯ)
“เป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของเภสัชกรร้านยา
ที่ต้องพร้อมปฏิบัติการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมตลอดเวลาที่เปิดทำการ”

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของหลักเกณฑ์ GPP ได้ที่ ….
https://bit.ly/3QQ7YKH
_____________________________________

สภาเภสัชกรรม
สภาเข้มแข็ง – วิชาชีพก้าวหน้า – ชาวประชาวางใจ

ดูโพสต์ต้นฉบับ


Share this:

Posted in ข่าวสารสมาคมเภสัชชุมชน.