เตรียมรับมือ เมื่อน้องกำลังจะเป็นวัยแรงงาน ในช่วงวิกฤติโครงสร้างประชากร

ก่อนจะอ่านเรื่องนี้ อยากให้อยากบทความนี้ก่อนนะครับ 

<<< กระแสย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น >>>> เราว่างเว้นไม่ได้คุยกันเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจไปหลายตอน…

โพสต์โดย เว็บบล็อกของลุงแมวน้ำ (UncaSeal) เพื่อการลงทุนในหุ้น กองทุน และฟิวเจอร์ส เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2018

อนาคต น้องจะเป็นวัยแรงงาน ในช่วงที่ประเทศกำลังเข้าสู่ วิกฤติโครงสร้างประชากร

พี่เห็นด้วยว่า ญี่ปุ่น เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่สุด เพราะลักษณะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ถือว่าคล้ายกัน และเค้ามีปัญหามาก่อนเรา 20 ปี

แม้ว่าในส่วนของภาครัฐจะเริ่มตื่นตัวเรื่องนี้มากแล้ว แต่ก็ถือว่าสายไปหน่อย

การแก้ปัญหาของเรากับญี่ปุ่นก็คล้ายกันมาก คือ

  1. เอาท่องเที่ยวกับส่งออกมาชดเชยการบริโภคในประเทศที่หายไป
  2. เพิ่มระยะเวลาการเกษียณของคนทำงาน (ซึ่งช่วยชะลออาการออกไปได้บ้าง แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้)

แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นพลาดมากคือ ไม่สามารถเพิ่มอัตราการเกิดได้สำเร็จ ทำให้ญี่ปุ่นป่วยหนักจนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ไทย รัฐบาลพึ่งจะมาตื่นตัวเรื่องการเพิ่มอัตราการเกิดใน 1-2 ปี ให้หลังมานี้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก (อันที่จริง ต้องบอกว่า ได้ผลบ้างกับคนรากหญ้า แต่คนชั้นกลางยังไม่เห็นผล)

แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นเหนือกว่าไทยคือ

  1. ญี่ปุ่นมีพื้นฐานเรื่องเทคโนโลยี
  2. ญี่ปุ่นมีแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์

และสิ่งยาอีกขนานที่ญี่ปุ่นกำลังใช้คือ พยายามผลักดัน ให้ธุรกิจต่างๆออกไปหาตลาดนอกประเทศ เพื่อชดเชยตลาดในประเทศที่กำลังหดตัว

อย่างไรก็ดี ไทยเอง ก็มีจุดที่เหนือกว่าคือ ล้อมรอบด้วยประเทศหนุ่มสาว (ประเทศเพื่อนบ้านเราล้วนแต่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาว) และสังคมไทยเปิดรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ดีกว่า

ส่วนเรื่องธุรกิจไทยออกไปหาตลาดนอกประเทศ ต้องบอกว่า ธุรกิจใหญ่ๆของเรารู้ตัวนานแล้ว และออกไปเรียบร้อยแล้ว มีทั้งที่ออกไปสำเร็จ และออกไปแล้วม้วนเสื่อกลับมา

ที่น่ากังวลกว่าคือ ธุรกิจใหญ่ๆจำนวนไม่น้อย ใช้วิธีการชดเชยตลาดในประเทศที่หดตัวด้วยการใช้ความได้เปรียบของตัวเองขยายไลน์ออกไปแนวกว้างแทนที่จะไปหาตลาดจากต่างประเทศ คือ ไปทำธุรกิจอื่นๆ เช่น ทำอสังหา ก็มาทำห้างเพิ่ม, ทำร้านสะดวกซื้อ ก็มาทำอาหารตามสั่ง ซักอบรีด, ทำปั๊มน้ำมัน ก็มาทำร้านกาแฟเพิ่ม ซึ่งเป็นการชดเชยตลาดที่หายไปด้วยการตีกินส่วนแบ่งของ SMEs


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *