สรุปร่างประกาศสภาเภสัชกรรมเรื่อง telepharmacy และลิ้งรับฟังความเห็น

สรุป

  1. เภสัชกรที่จะทำ telepharmacy ต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรมทางไกลที่สภาเภสัชให้การรับรอง
  2. เภสัชกรที่ทำ telepharmacy ได้ ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการในร้านขายยา หรือหน่วยบริการของรัฐ หรือสถานพยาบาล
  3. เภสัชที่ทำ telepharmacy ต้องทำผ่าน application ที่มีคุณสมบัติอย่างน้อยคือ
    – มีระบบขึ้นทะเบียนที่คัดกรองได้ว่าเภสัชกรที่ทำ telepharmacy ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สภาเภสัชกรรมรับรองมาแล้ว และสามารถแสดง ชื่อ-สกุล เลขที่ใบประกอบ สถานที่หรือตำแหน่งให้บริการ แก่ผู้รับบริการได้
    – มีระบบขึ้นทะเบียนผู้รับบริการที่เป็นไปตามหลักกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (รวมถึงมี consent ให้ยินยอมการใช้ข้อมูลที่จำเป็น)  และยืนยันข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลที่จําเป็นต้องทราบ
    – มีระบบบันทึกประวัติผู้ป่วย ข้อมูลให้บริการ และติดตามผลการใช้ยา ในระบบ Digital
    – ข้อมูลของผู้รับบริการทั้งหมดจะต้องดูแลและจัดการให้เป็นไปตามกฏหมาย PDPA, พรบ.อิเล็กทรอนิกส์ และ พรบ.คอม
  4. กระบวนการทำ telepharmacy จะต้องประกอบไปด้วย
    – การสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการให้คำปรึกษา ค้นหาและป้องกันปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา และติดตามการใช้ยา
    – กรณีมีใบสั่งยาต้องมี Prescription analysis ค้นหา Drug-related problems ประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา drug-interaction ADR
    – การให้คำปรึกษา/แนะนำเกี่ยวกับยา
    – การส่งต่อไป รพ.
  5. ห้ามให้บริการ telepharmacy ในยา high alert drug, ยาที่มีแนวโน้มนำไปใช้ในทางที่ผิด และยาที่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิด สำหรับยา high alert drug ให้เป็นไปตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
  6. การขนส่งยาต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิขณะขนส่งให้เหมาะสมกับประเภทของยาได้ มีระบบติดตามว่ายาได้ถูกส่งให้ผู้รับบริการอย่างครบถ้วนในสถานที่และเวลาที่กำหนด ป้องกันการสูญหาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น มีระบบติดตาม tracking ที่เภสัชกรและผู้รับบริการสามารถตรวจสอบได้

แบบฟอร์มรับฟังความคิดเห็นต่อร่างดังกล่าว

ขอเชิญเภสัชกรทุกท่านแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศสภาเภสัชกรรม เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) อย่างรอบด้าน ตามลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc4lpmUBYO_cPD5EOmgnl3UtNGQHvoEo7-bayWrFEXbO2yWWg/viewform ตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เวลา 16.00 น


Share this:

Posted in ข้อมูล/ข่าวแวดวงเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *