เภสัชจุฬา กับ มหิดล เลือกอะไรดี

สุดยอดคำถามฮอตฮิตที่น้องหลายคนสงสัย เมื่อเรามีคะแนนในมือแล้วเลือกทางไหนจะดีที่สุด ตัวแอดเองก็เรียนอยู่มหิดล ก็รู้แค่ฝั่งมหิดล ใช้เวลาอยู่พอสมควรกว่าจะหาข้อมูลของทางจุฬามาได้ 55555555
แอดขอสรุปประเด็นคร่าวๆ ดังนี้ค่ะ

🐣 หลักสูตร

จุฬา : แบ่งสาขาชัดเจนตั้งแต่ตอนสอบเข้า เป็นอุตสาหการและบริบาล
ข้อดี
– ไม่ต้องแข่งขันกันตอนหลัง
ข้อเสีย
– ถ้าอยากเปลี่ยน ต้องซิ่วอย่างเดียว ไม่สามารถย้ายสาขาภายหลังได้ หรือถ้าได้ก็ยากมากๆ

มหิดล : เลือกสาขาตอนปี 5 มีอุตสาหการและบริบาลเหมือนกัน
ข้อดี
– มีเวลาคิดในการเลือกสาขา
– เรียนวิชาของอุตสาหการและบริบาลคู่กันจนถึงปี 4 ทำให้มีโอกาสได้สัมผัสกับแต่ละสายจริงๆ
ข้อเสีย
– อาจมีการแข่งขัน (แต่เอาเข้าจริงเท่าที่แอดเห็น ยังไม่มีรุ่นพี่คนไหนไม่ได้เข้าสาขาที่อยากเข้าเลยนะ)
– เครียดและเรียนหนักจากการต้องเรียนวิชาของทั้งสองสายพร้อมๆ กัน

🐣 จุดเด่น

จุฬา : คอนเนคชันเยอะมาก และพรีเมียมทั้งนั้น รุ่นพี่หลายคนจบไปทำธุรกิจ เด่นเรื่องหลักสูตรอุตสาหการ และง่ายในการหางานและต่อยอดต่อไป

มหิดล : วิชาการแน่น เด่นเรื่องหลักสูตรบริบาล เป็นมหาลัยสายวิจัยที่ อ. ชวนเด็กไปทำวิจัยบ่อยมาก 555555 คอนเนคชันออกแนวนักวิชาการมากกว่า

🐣 สังคม

จุฬา : แบ่งเป็นกลุ่ม สาขาอุตสาหการและบริบาลแยกกันชัดเจน ไม่ค่อยได้เจอกัน ค่าครองชีพของบริเวณรอบ ม. ค่อนข้างแพง ตัวคณะแยกออกจากคณะอื่นอย่างชัดเจน และไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างคณะ เพื่อนพี่ที่จุฬาฝากบอกมาด้วยว่า บางครั้งมีกระแสว่าเด็กจุฬาขี้อิจฉา ชอบนินทา มีนเกิร์ลไรงี้ แต่ความจริงคือไม่ใช่แบบนั้น เพราะต่างคนต่างอยู่ ไม่ยุ่งกันซะส่วนใหญ่

มหิดล : แบ่งเป็นกลุ่มเหมือนกัน แต่วาร์ปไปแวะกลุ่มอื่นได้เป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เลือกสาขา เพราะงั้นส่วนใหญ่จะรู้จักกันทั้งชั้นปี ช่วยกันเรียน เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง ค่อนข้างอบอุ่นเลยแหละ ตัวคณะแยกออกจากคณะอื่นเหมือนกัน แต่ก็ยังสามารถไปเที่ยวคณะอื่นได้บ้าง (เช่น คณะวิทย์ 55555)
ข้อเสียหนึ่งที่เหมือนกันทั้งจุฬาและมหิดล คือเป็นคณะในตัวเมืองที่แยกออกจากคณะอื่นๆ อย่างชัดเจน ไม่มีพื้นที่ให้วิ่งเล่น เดินชิว ส่องหนุ่ม (…) สภาพที่อยู่มีแต่ตึก ตึก และตึก เพราะงั้นอาจไม่เหมาะกับน้องที่อยากวิ่งเล่นออกกำลังกาย ปั่นจักรยานสูดอากาศชิวๆ นะคะ แต่ถ้าน้องสายชอบความเจริญ เรียนเสร็จเดินห้าง สองมหาลัยนี้ถือว่าตอบโจทย์ค่ะ

เรื่องหอ พี่ได้ข้อมูลมาว่าหอนอกของจุฬาค่อนข้างแพง แต่ก็มีหอในราคาถูกให้อยู่ แต่สำหรับเภสัชมหิดล ออกตัวเลยค่ะว่า ไม่มีหอในให้นะคะ 5555555 ทุกคนต้องอยู่หอนอก แต่ราคาของหอนอกก็ค่อนข้างหลากหลาย มีตั้งแต่ห้าพันถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทำเล และความปลอดภัยค่ะ เพราะงั้นเด็กเภสัชมหิดลเลยต้องหารูมเมทกันหน่อยนึง เพราะสำหรับคนที่ไม่ได้มีฐานะดีขนาดนั้น การที่ไม่มีหอในให้อยู่และต้องอยู่หอนอกนี่ถือว่ามีผลกระทบทางการเงินเลยแหละ

🐣 ทุน

จุฬา : ทุนเยอะมาก ไม่ต้องกลัวเรียนไม่จบเพราะไม่มีเงิน
มหิดล : ทุนเยอะเหมือนกัน ไม่ต้องกลัวเรียนไม่จบเหมือนกัน เอ๊ะแล้วแอดจะเปรียบเทียบทำไม 5555555

การเงินมีปัญหา ใส่ชุดนักศึกษาไปหาอาจารย์ได้ค่ะ อาจารย์พร้อมซัพพอร์ต 55555555

จากทั้งหมดที่บอกไป คิดว่าน้องน่าจะมีตัวเลือกในใจได้แล้ว แต่ถ้าน้องยังตกตะกอนไม่ได้ แอดก็ขอให้คีย์สั้นๆ อีกนิดนะคะ

ถ้าสายบริบาล สายวิชาการ สายวิจัย เลือกไป มหิดล
ถ้าสายธุรกิจ สายคอนเนคชัน อยากรู้จักรุ่นพี่ระดับพรีเมียม เลือกไป จุฬา

แต่ถ้าอยากได้แฟนหน้าตาดี ทั้งสองที่ก็หน้าตาดีเหมือนกัน แถมโสดด้วย ฮิ้วววว 🎉
ขอบคุณค่าาาา 5555555

declaration : ข้อมูลที่เขียนทั้งหมดนี้ เกิดจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างสองหน่อจุฬาและมหิดล คนที่อยู่จุฬาเรียนสายอุตสาหการ เพราะงั้นข้อมูลสายบริบาลของจุฬาจึงอาจจะไม่แน่น และตัวแอดเองก็ยังมีหลายอย่างในคณะที่ต้องเรียนรู้เหมือนกัน น้องๆ สามารถใช้ข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจได้ แต่อย่ายึดมั่นไปซะทั้งหมดนะคะ


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *