เภสัชกับฟิสิกส์ ?????

เวลาน้องถามว่าเรียนเภสัช ใช้ฟิสิกส์ไหม แล้วพี่ก็จะตอบว่า ได้ใช้นิดหน่อยกับพวกวิชาทางซูติก และ pharmtech แต่มันก็ไม่ได้ใช้อะไรลึกมาก หรือคำนวณอะไรมากมาย รู้ไว้ประกอบความเข้าใจเฉยๆ แล้วน้องก็จะดูงงๆหน่อยนะ คราวนี้มาลองดูของจริงกันเลยดีกว่าว่ามันได้ใช้แบบไหน

อันนี้รูปจริงนะครับ ใช้ในการทำงานจริงๆ ถ้าน้องทำงานโรงงานที่ต้องทำยาฉีดน่าจะได้เจอรูปอะไรทำนองนี้แน่นอน

จากรูปนี้นะครับ พี่ขออธิบายดังนี้

ในรูป น้องเห็นขวดกลมๆที่นอนอยู่ใช่ไหมครับ อันนั้นคือขวด ampoule หรือขวดยาฉีดนั่นแหละ ทีนี้เวลาน้องทำยาฉีดเนี่ย สิ่งนึงที่สำคัญมากในการทำยาฉีดเลยก็คือ มันห้ามรั่วครับ เพราะถ้ารั่วเมื่อไหร่ ทั้งเชื้อโรคและอนุภาคต่างๆก็จะหลุดเข้าไปได้ คำถามคือจะเช็คได้ยังไงล่ะ ว่ามันรั่วหรือเปล่า?

หนึ่งในวิธีตรวจสอบนั้นก็คือใช้ไฟฟ้าครับ

หลักการก็ง่ายๆครับ คือถ้าน้องให้กระแสไฟฟ้าเข้าไป ถ้าขวดมันไม่รั่วมันก็จะวิ่งผ่านขวดยาฉีดน้องไปตามปกติ (ผ่าน Z1, R และ Z2) แต่ถ้ามันรั่ว (ดูรูปด้านขวานะครับ) สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ กระแสมันจะไหลเข้าไปยาฉีดของเรายังไงละครับ ในส่วนของ Z1 เลยเป็น Pinhole spark discharge ไป เราก็เลยใช้ประโยชน์ตรงนี้ของมันในการตรวจว่ารั่วหรือไม่รั่ว

ลองดูที่รูปนะครับ ค่า I1 กับ I2 มันไม่เท่ากัน เพราะขวดที่รั่วค่า Z1 มันหายไป จริงๆตรงนี้ก็คือฟิสิกส์ ม.ปลาย ธรรมดาครับ เพราะมันก็มาจากกฏของโอห์มที่ว่า V=IR แค่นี้เอง ย้ายข้างก็จะเป็น I=V/R (ถึงตรงนี้น่าจะมองออกละ ว่าสมการมันมายังไง)

เนี่ย มันก็ใช้ประกอบความเข้าใจ อะไรประมาณนี้ ถามว่าถ้าน้องไม่เข้าใจมันจะทำให้น้องเรียนไม่จบ หรือทำงานไม่ได้ไหม มันก็ไม่ใช่ เพียงแต่มันก็จะทำให้น้องเข้าใจหลักการต่างๆได้ดีขึ้น เพราะของพวกนี้พื้นฐานของมันก็มาจากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์นั่นเองครับ


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *