ความจริงเบื้องหลัง “ยา 1 เม็ด”

ยาเม็ดเล็กๆ แค่ 1 เม็ด พอเข้าปากไป ทำไมมันถึงได้ส่งผลอะไรกับร่างกายอะไรเยอะแยะ

นี่คือคำถามที่เราถามตัวเองเมื่อตอนเข้ามาเรียนเภสัชใหม่ๆ เป็นเฟรชชี่ใสๆ (?) ในรั้วเขียวมะกอกที่สอบเข้ามาอย่างยากลำบาก 55555

พอเข้ามาเรียนแล้ว คำตอบของคำถามก็ค่อยๆ ถูกเปิดเผยขึ้นมาทีละน้อย วันนี้แอดเลยได้ฤกษ์มาบอก concept ของยา 1 เม็ด ให้ฟังค่ะ

ยาเม็ดในที่นี้จะขอกล่าวถึงยาเม็ดในรูปแบบ tablet หรือยาเม็ดแบบเม็ด (?) (ยาเม็ดที่ไม่ใช่แคปซูลอะ 5555) นะคะ

ในเม็ดยา จะประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญ (Active Ingredients- API) ที่ออกฤทธิ์กับระบบร่างกายจริงๆ และส่วนประกอบเสริม (Excipients) ในการปรุงแต่ง เพิ่มคุณสมบัติบางอย่าง เพื่อให้ยานั้นสามารถคงอยู่ หรือใช้งานได้ง่าย หรือให้สามารถดูดซึมเข้าร่างกาย และอีกหลายเหตุผล

เมื่อยาหนึ่งเม็ดถูกกินเข้าไปในร่างกาย เกิดกระบวนการย่อย และดูดซึมเข้าสู่อวัยวะต่างๆ คอนเซ็ปท์หลักของยา คือจะไปทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างหนึ่งที่พบได้ทั่วไปคือกรณีของภูมิแพ้ คือเจ้าภูมิแพ้เนี่ย มันเกิดจากสาร histamine ซึ่งหลังออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (Eosinophil) จากนั้นสาร histamine จะไปจับกับตัวรับ (receptor) ที่เซลล์ต่างๆ ทำให้เซลล์เกิดการส่งสัญญาณ (cell signaling) ก่อเกิดอาการภูมิแพ้
ยาแก้แพ้จะเป็นสาร anti-histamine ซึ่งจะเกิดผลโดยการไปแย่งสาร histamine จับตัวรับที่เซลล์ แต่ไม่ทำให้เซลล์เกิดการส่งสัญญาณ (receptor antagonist) ทำให้ไม่เกิดอาการภูมิแพ้ แม้ histamine จะถูกหลั่งออกมา แต่เมื่อแย่งยาจับกับตัวรับที่เซลล์ไม่ได้ ก็จบ

แต่ปัญหาคือเจ้าสาร histamine เนี่ย นอกจากจะเป็นสารก่อภูมิแพ้แล้ว อีกหน้าที่ของมันคือการเป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ที่ส่งสัญญาณในศูนย์ตื่น (Wake Center) ในสมอง แต่พอเรากินยา anti-histamine เข้าไป แล้วถ้าตัวสารถูกดูดซึมเข้าไปในสมอง มันจะไปแย่งจับตัวรับสัญญาณที่ศูนย์ตื่น แต่ไม่เกิดการส่งสัญญาณของเซลล์ ทำให้ศูนย์ตื่นไม่ทำงาน จึงทำให้ยาแก้แพ้มีอาการข้างเคียงเป็น “ทำให้ง่วง”

ทางแก้คือ (อันนี้อาจจะลึกไปหน่อยสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนเภสัช เอาเป็นว่าถ้าเข้ามาเรียนเดี๋ยวก็รู้นะ 55555) การเพิ่มโมเลกุลบางอย่างให้ไปเกาะกับโมเลกุลของยา ทำให้ยาอยู่ในรูป salt form เพิ่มความเป็นขั้ว ซึ่งเมื่อสารเป็นขั้วแล้ว ก็จะไม่สามารถดูดซึมผ่าน Blood-Brain Barrior ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกั้นไม่ให้สารที่ไม่ต้องการเข้าสู่สมองได้ ทำให้ยาตัวนี้ไม่ถูกดูดซึมที่สมอง และไม่ส่งผลต่อศูนย์ตื่น

นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของการออกฤทธิ์ของยาเท่านั้น ถ้าน้องๆ ม.ปลาย คนไหนอยากเข้ามาเรียนในรั้วเภสัช น้องจะเข้าสู่โลกของยาและระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ น้องจะได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องของยาตั้งแต่กระบวนการผลิต ผสมสาร ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ไปจนถึงการบริโภค การออกฤทธิ์ของยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย

น้องจะได้เข้าถึงมิติต่างๆ ของยาเม็ดเล็กๆ หนึ่งเม็ด แต่ภายในถูกบรรจุไว้ด้วยความมหัศจรรย์ของการรักษาผู้คน ได้ทำความเข้าใจกลไกในการรักษาร่างกายมนุษย์ของสารเคมีน้อยๆ ในเม็ดยาเม็ดเล็กๆ นี้ ได้เรียนรู้และเติบโต เข้าใกล้ความเป็นเภสัชกรมากขึ้นในทุกๆ ปี

สำหรับคนที่มีใจรักในทางนี้ พี่บอกเลยค่ะ ยิ่งเรียนยิ่งว้าว

ว้าว จะตายแล้วววว เยอะชิบหายยยย 😱😱😱

The End.


Share this:

Posted in บทความ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *