เป็นคำถามที่เคยถูกถามมาเยอะมาก ๆ เอาจริงตอนแรกก็ไม่รู้คำตอบที่แน่ชัดเหมือนกัน บางทีก็มี บางทีก็ไม่ แล้วมันยังไงกันแน่
คำตอบคือ มหาลัยจะมีผลมั้ย ขึ้นกับสายงานค่ะ
คณะเภสัชฯ มีข้อดีอย่างนึงคือ เรียนจบไปแล้วสายงานเปิดกว้างมาก ๆ ถ้าเทียบกับคณะสายสุขภาพด้วยกัน งานเภสัชกรมีหลายส่วนมากทั้งที่สังคมมองเห็นและมองไม่เห็น สถานที่ที่เภสัชกรไปอยู่ได้ก็มีทั้งโรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยา โรงงานยา
ซึ่งในแต่ละสายงานจะมีอัตราการแข่งขันไม่เหมือนกัน แม้แต่ รพ. ใหญ่ ๆ เงินเดือนสูงลิ่วบาง รพ. ก็มีอัตราการแข่งขันสูง
สิ่งนี้แหละที่มหาวิทยาลัยจะมีผล
คือสถานการณ์ทางวิชาชีพเภสัชในประเทศไทยตอนนี้มันหลากหลายมาก มีทั้งสายงานที่อัตราแข่งขันสูงชนิดแทบเหยียบหัวกันตาย (อันนี้มหาลัยมีผลแน่) กับสายงานที่แม้กระทั่งคนจะมาสมัครงาน ก็ยังไม่ครบตำแหน่งที่เปิดรับด้วยซ้ำ (อันนี้มหาลัยไม่มีผล)
สรุปคือ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายแล้วกันค่ะ ว่าเรียนจบไปแล้วอยากทำงานสายไหน ถ้าอยากทำงาน รพ. (รัฐ) ก็อาจจะไม่ต้องเครียดเรื่องมหาลัยมาก แต่ถ้าอยากทำงาน รพ. เอกชน (บางแห่ง) หรือบริษัทยาใหญ่ ๆ เงินเดือนสูง ๆ อันนี้อาจจะต้องดิ้นรนหน่อยเพื่อให้ได้ชื่อมหาวิทยาลัยมาติดตัวไว้ก่อน (หลังจากเรียนจบเภสัชแล้ว ในบางสังคม ชื่อมหาลัยจะติดตัวไปอีกนานนนเลยล่ะค่ะ)
โดยส่วนตัวแอดแล้ว เท่าที่เจอมา ความแตกต่างระหว่างมหาลัยอาจจะไม่ได้มีผลต่อความรู้ทางเภสัชขนาดนั้น แต่ที่มีผลมากคือ mindset บางอย่าง และการพูดภาษาเดียวกันซะมากกว่า
แต่ทีนี้มันก็ขึ้นอยู่กับคนด้วยว่าเราจะแจ็คพอตไปเจอใคร สังคมแบบไหนด้วยหรือเปล่า บางทีถ้าแจ็คพอตเจอคนแบ่งแยกมหาลัย อันนี้จบ ม. ไหนมาก็ตายเหมือนกันค่ะ 55555555
สุดท้ายนี้ ใด ๆ คือเรียนจบไปไม่อดตายแน่นอนค่ะ เพราะงานรพ. (บางที่) พร้อมเปิดรับทุกคนเสมอ เหมือนมีคำสาปให้คนขาดตลอดไป งานเภสัช รพ. รักมนุษย์ผู้มีใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุกคน 👍
Share this: