เราจะแก้ปัญหาเภสัชใช้ทุนอย่างไรดี

เนื่องจากที่ผ่านมามี นศ.เภสัช สมัครใจใช้ทุนน้อยลงมาก

เอาละ เรามาดูก่อนว่า ที่ผ่านมาเรามี นศ.เภสัช สมัครใจใช้ทุนเท่าไร???

เท่าที่พี่มีข้อมูลมา

  • ปี 2561 มีคนสมัครใจ 573 คน มีตำแหน่ง 350 ตำแหน่ง (ขรก.)
  • ปี 2562 มีคนสมัครใจ 601 คน มีตำแหน่ง 360 ตำแหน่ง (ขรก.)
  • ปี 2563 มีคนสมัครใจ 360 คน มีตำแหน่ง 350 ตำแหน่ง (พนง.ราชการ)
  • ปี 2564 มีคนสมัครใจ 775 คน มีตำแหน่ง 400 ตำแหน่ง (พนง.ราชการ)
  • ปี 2565 มีคนสมัครใจ 374 คน มีตำแหน่ง 400 ตำแหน่ง (พนง.ราชการ)
  • ปี 2566 มีคนสมัครใจ 248 คน มีตำแหน่ง 350 ตำแหน่ง (พนง.ราชการ)
  • ปี 2567 ไม่รู้ ???

จะเห็นได้ว่า ช่วงหลังๆมา มีคนสมัครใจใช้ทุนน้อยลงเรื่อยๆ และเริ่มน้อยกว่าตำแหน่งที่มี อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ยังไม่มีผลกระทบ เพราะตำแหน่ง พนง.ราชการ ตามระเบียบแล้ว สามารถให้คนนอก (ที่ไม่ได้ใช้ทุน) แต่มีคุณสมบัติครบตามประกาศ สามารถสมัครได้ จึงมีคนนอกมาสมัคร และสามารถหาไป fill ได้เต็ม หรือต่อให้ไม่เต็ม สธ ก็ใช้วิธีการเปิดรับใหม่ไปหลายๆรอบ จนเต็มอยู่ดี
แต่ว่าการที่ นศ.สมัครใจใช้ทุนไม่เพียงพอกับตำแหน่ง มันก็เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งเป็นที่มาของโพสต์นี้ อนาคตอาจมีการบังคับให้ นศ.เภสัช ใช้ทุนทุกคน!!! ก็คือหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหา ก็คือบังคับให้ นศ.เภสัช ทุกคนเข้าสู่ระบบการใช้ทุน แล้วถ้าไม่ได้ ค่อยปลดภาระทุน อย่างไรก็ดี แนวทางนี้ จากมติในที่ประชุมปีนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ (ดังนั้นในปีนี้ไม่มีการบังคับแน่นอน) แต่ว่าในปีถัดๆไป ถ้าปัญหาคนสมัครใจยังน้อยลงเรื่อยๆ จนหาคนไปเติมให้เต็มไม่ได้ การบังคับก็เป็นเรื่องที่อาจจะนำมาใช้ได้ในอนาคต (แต่ส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ คงไม่เอามาใช้ แล้วขืนใช้ตอนนี้นะ ค่าตัวเภสัชร้านยาพุ่งปรอทแตกแน่ๆ ฝั่ง ผปก ร้านยาน่าจะลงมาค้านด้วยแน่ๆ)
ซึ่งจริงๆการแก้ไขปัญหา มันก็มีไม่กี่วิธีหรอก

  1. บังคับไปเลย
  2. หาแรงจูงใจให้คนมาสมัคร เช่น เพิ่มเงิน หรือหาตำแหน่ง ขรก. มาให้ได้
  3. ยกเลิกใช้ทุนไปเลย ให้แต่ละหน่วยงานเปิดรับสมัครเอาเอง

สำหรับแนวทางที่ 1 จริงๆเป็นแนวทางที่ถ้าจะทำ ก็สามารถทำได้เลย เพราะสัญญาที่ นศ.เภสัช เซนต์ไป เป็นสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว กล่าวคือ ถ้าจะให้ใช้ทุน ก็ต้องใช้ แต่ถ้าไม่มีตำแหน่งมาให้ หรือตำแหน่งไม่พอ ก็ไม่ต้องใช้ก็ได้ (เสียเปรียบโครตๆ) แต่ว่าที่ผ่านมาหลายสิบปีมานี้ คนอยากใช้ทุนมันมากกว่าตำแหน่งที่มีไง ก็เลยตั้งเป็นระบบแบบสมัครใจ คือใครอยากใช้ก็ลงความประสงค์มา ใครไม่อยากก็ไม่เป็นไร วินๆทั้งคู่ เพียงแต่ในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ มันไม่ใช่ไง มันเริ่มกลายเป็น คนอยากใช้ทุนมีน้อยกว่าตำแหน่งที่มี

สำหรับแนวทางที่ 3 ยกเลิกใช้ทุนไปเลย นี่ไม่แน่ใจว่าทำได้ไหม คือเคยได้ยินอาจารย์ท่านนึงพูดว่า หากให้นักศึกษาเซนต์สัญญาไปแล้ว นศ.มีภาระผูกพันคือถ้าลาออกต้องเสียค่าปรับ ดังนั้นถ้าถึงเวลาไม่จัดสรรตำแหน่งใช้ทุนมาให้ นศ.สามารถฟ้องร้องได้ ซึ่งถ้าอันนี้เป็นความจริง หมายความว่าถ้าจะยกเลิกก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5-6 ปี

ส่วนแนวทางที่ 2 บอกเลยว่ายาก เพราะมันผูกพันธ์กับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะ กพ. คือต่อให้คุยกับ กพ สำเร็จ ได้ตำแหน่งมา ก็ต้องอย่าลืมว่ามีพี่ๆที่เค้ารอบรรจุอยู่อีกมากมาย ถ้าจะเอาตำแหน่งไปให้น้องจบใหม่เลย พี่ๆเค้าจะยอมหรือ? เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิด แต่เคยเกิดมาแล้วในปี 2563 คือหลังจากที่ กพ. มีนโยบาย zero growth ไม่เปิดตำแหน่งข้าราชการเพิ่ม ก็จะเอาตำแหน่งว่างมาให้น้องจบใหม่ใช้ทุน ผลคือพี่ๆเภสัชทั่วประเทศที่ยังไม่ได้บรรจุและรอบรรจุอยู่ออกมาประท้วง (เพราะถ้าเอาตำแหน่งว่างไปให้น้องจบใหม่ โอกาสที่เค้าจะได้บรรจุแทบจะ = 0) จนต้องเอาตำแหน่งว่างไปให้พี่ๆที่เค้ารอกันอยู่ แล้วน้องใช้ทุนได้ตำแหน่ง พนง.ราชการ มาแทนหลังจากนั้น


Share this:

Posted in ข้อมูล/ข่าวแวดวงเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *