ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิตที่สภาเภสัชกรรม ให้การรับรอง ปีการศึกษา 2566

สภาเภสัชกรรมให้การรับรองสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นเจ้าของหลักสูตรเภสัชศาสตร์ จำนวน 18 สถาบัน ปีการศึกษา 2566

ผู้ที่สมัครเข้าศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรองปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต จึงจะสามารถเข้าสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้เท่านั้น ดังต่อไปนี้

  1. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  5. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  7. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  8. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  9. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  10. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  11. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  12. วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  13. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  14. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  15. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  16. สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  17. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  18. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประเด็นที่น่าสนใจ

ปีนี้น่าสนใจตรงที่

  1. ไม่มีมอไหนติดการรับรองแบบมีเงื่อนไขแล้ว
  2. ปีนี้คณะเภสัช ม.อีสเทิร์นเอเชีย ไม่ผ่านการรับรอง
ประกาศผลการพิจารณาไม่รับรอง ม.อีสเทิร์นเอเชีย

ดังนั้น นศ.ที่เข้าเรียน ม.อีสเทิร์นเอเชียในปีนี้ จะไม่สามารถสอบใบประกอบตามระบบได้ (ส่วน นศ. ปีอื่นๆที่เข้าเรียนในปีที่ผ่านการรับรองก่อนหน้านี้สอบได้ตามปกติ ไม่มีปัญหาอะไร) คืออาจจะต้องไปทำเรื่องเหมือนเภสัชที่จบหลักสูตรที่สภาไม่ได้รับรองจากต่างประเทศ แล้วเก็บหน่วยกิต อบรม หรือฝึกงานเพิ่มก่อนถึงสอบใบประกอบได้ เดี๋ยวก็รู้ เพราะเดี๋ยวก็จะมี นศ.จาก ม.เวสเทิร์นเป็นกรณีตัวอย่างให้ (ม.เวสเทิร์นยังไม่เคยผ่านการรับรองแม้แต่ปีเดียว)

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง อัพเดทล่าสุด สำหรับคนที่จบเภสัชมอที่ไม่ผ่านการรับรอง

อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ที่ผ่านมาก็เคยเกิดกับมออื่นมาแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเห็นมีการแก้ไขปัญหาอยู่ 2 แบบ คือ

  1. รีบแก้ไขและให้สภาตรวจสอบใหม่ให้ได้ทันปีการศึกษา 2566 สภาก็ออกประกาศรับรองเพิ่มเติมให้ในภายหลัง
  2. ใช้วิธีการรีรหัส นศ. ของปีที่ไม่ผ่านการรับรอง เป็นปีที่ผ่านการรับรอง เช่น ปี 66 ไม่ผ่านการรับรอง แต่ปี 67 ผ่านการรับรอง ก็รีรหัส นศ. ปี 66 เป็น 67 ซึ่ง ม.บูรพา เคยใช้วิธีนี้ตอนปี 55 แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ ในปี 67 จะรับ นศ.ได้น้อยลงมาก เพราะสภามีเกณฑ์กำหนดเรื่องสัดส่วนอาจารย์ต่อ นศ. อยู่ ถ้ารีรหัส นศ. ปี 66 มาเป็น ปี 67 ก็อาจเหลือที่ให้รับ นศ. ปี 67 นิดเดียว เพราะถ้าฝืนรับเยอะเกินเกณฑ์สภา ก็จะกลายเป็นว่าตกอีกปี

Share this:

Posted in ข้อมูล/ข่าวแวดวงเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *