แตกประเด็นจากข่าว อธิการบดี ม.ราชมงคลฯ ยอมรับนักศึกษาถูกปฏิเสธงานจากหลายบริษัท

จากข่าวนี้ http://news.ch7.com/detail/268476

สรุปคร่าวๆก็คือ

  • นายวิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะประธาน 9 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ยอมรับว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลหลายแห่ง ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงานจากหลายบริษัทจริง
  • ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆนะ ได้มีพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาใหม่ โดยเน้นการเรียนควบคู่ไปกับการทำงาน พร้อมทั้งประสานกับบริษัทชั้นนำหลายแห่งให้รับนักศึกษาที่เรียนจบเข้าทำงาน ทำให้นักศึกษาที่เรียนจบมีงานทำ 85-90 %
  • ด้านด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยอมรับก็ออกมาเสริมว่า ปัญหานักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงานเกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ได้รับการพัฒนามานานมาก และแต่ละมหาวิทยาลัยมุ่งแต่รับนักศึกษาเข้าเรียนให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ และตลาดแรงงานที่จะรองรับ (อันนี้ขึ้นด้วยราชภัฏ แต่ตอนปิดท้าย ไม่ได้ปิดท้ายด้วยมหาลัยไหนนะครับ พูดรวมๆว่า มหาลัยคุณภาพมันตกต่ำเพราะเน้นแต่ปริมาณ ไม่สนใจคุณภาพและตลาดงาน)

ส่วนตัวพี่นะ เข้าใจว่า HR ของบริษัทต่างๆ ต้องคัดใบสมัครเยอะ วันนึงเป็นร้อยๆพันๆใบ คงเรียกมาสัมภาษณ์ทุกคนไม่ไหว ก็เลยตั้งกฎไปเลยว่า จบจาก ม.นี้ไม่รับ เพื่อจะได้ร่อนใบสมัครออกได้ทีละเยอะๆ (หรือบางที่ ดีขึ้นมาหน่อย มีเปรียบเทียบปรับ เช่น 4.00 ราชภัฏ ให้ rating เท่ากับ 2.5 จุฬา แบบนี้ก็มี)

อย่างไรก็ตาม พี่มองว่า ระบบแบบนี้ เป็นระบบที่ง่ายแต่หยาบและขาดความละเอียดไปมากๆ อย่าลืมว่า แม้ว่าคนที่เรียนที่ ราชภัฏ เทคโน ส่วนใหญ่เป็นคนสอบที่ ม.ดังๆ ไม่ได้ แต่หลายคนก็มี talent เฉพาะทางของเค้า เช่น เด็กของเทคโนหลายคน แม้วิชาการจะสู้ ม.ดังๆไม่ได้ แต่มี talent ด้าน hand skill อย่างน่าทึ่ง ดังนั้นอยากให้หลุดพ้นจากระบบมองที่สถาบันมาเป็น มองที่ความสามารถ และ skill ของคนๆนั้นจริงๆว่า สามารถช่วยบริษัท ช่วยสังคม ช่วยโลก ได้จริงแค่ไหน

ในส่วนของคณะเภสัช ถ้าถามว่า มหาลัย มีผลไหม พี่ก็คงตอบว่า ถ้าจะบอกว่า ไม่มีผลเลย ก็ไม่ถูกนัก ทั้งนี้ ขึ้นกับสายงานที่น้องไปทำด้วยว่า จะไปทำสายไหน บางสายงานสถาบันมีผลในระดับนึง บางสายงานสถาบันไม่มีผลเลย ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นกับรุ่นพี่ของสถาบันด้วยว่า เคยไปทำให้สถานประกอบการนั้นๆ ประทับใจแค่ไหน (เชื่อเถอะ มีรุ่นพี่บางคน ที่ยืนยันจะไม่รับเด็กมอนี้ เพราะเด็กมอนี้เคยทำแสบเอาไว้) อย่างไรก็ตาม วงการเภสัช ถือเป็นวงการที่มีปัญหาเรื่องแบ่งแยกสีเสื้อสถาบันน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับวงการอื่นๆครับ

ฝากถึงน้องๆทุกคนนะครับ หากน้องหยุดพัฒนาตัวเอง ปริญญาของน้อง ก็จะกลายเป็นแค่ “ใบเสร็จรับเงิน” ที่จะทำให้ชื่อมหาลัย เป็นเพียง “ชื่อผู้รับเงิน” ในใบปริญญาเท่านั้น


Share this:

Posted in ข่าวสาร Admission.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *