‘ แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีจรรยาบรรณ (Off line) ‘ สภาเภสัชกรรมประชาสัมพันธ์แนวทางแนวทางขั้นตอนกา…

‘ แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีจรรยาบรรณ (Off line)

‘ สภาเภสัชกรรมประชาสัมพันธ์แนวทางแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีจรรยาบรรณ

‘ 1. ✅ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม มีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อสภาเภสัชกรรมผู้ใดจะกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมให้แจ้งเรื่องต่อสภาเภสัชกรรม
.
“🚩ผู้กล่าวหา”หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อสภาเภสัชกรรมกล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้นั้น และให้รวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทนบุคคลดังกล่าวในฐานะผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย
.
“🚩ผู้กล่าวโทษ ”หมายความว่า บุคคลผู้รู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และเป็นผู้แจ้งเรื่องต่อสภาเภสัชกรรม
โดยการทำเรื่องและการแจ้งเรื่องต่อสภาเภสัชกรรมต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ทำเรื่องหรือผู้แจ้งโดยมีรายละเอียด ดังนี้
.
⭐️ ชื่อ – สกุล ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษ พร้อมพฤติการณ์ที่ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษกระทำผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม
⭐️ ชื่อ – สกุล พร้อมที่อยู่หรือที่สามารถติดต่อได้ของผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษแบบฟอร์มการแจ้งเรื่องกล่าวหาหรือกล่าวโทษเป็นไปตามสภาเภสัชกรรมกำหนด (แบบฟอร์ม สส1.) ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
https://bit.ly/32Pyik8

.
‘ 2.✅สภาเภสัชกรรมรับเรื่องร้องเรียน ประสานคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและคณะอนุกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินตามขั้นตอนและกระบวนการที่เกี่ยวข้องตามลำดับต่อไป (ดังภาพ)มีมูล ไม่มี
.
2.1 ⭐️ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจหน้าที่ สืบสวนหาข้อเท็จจริง ในเรื่องที่ได้รับ เกี่ยวกับ การกล่าวหาหรือการกล่าวโทษ ทำรายงานเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
2.2 ⭐️ คณะอนุกรรมการสอบสวน มีอำนาจหน้าที่ สอบสวนสรุปผลการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวน พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
.

“🚩การสืบสวน ”หมายความว่า การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งความผิด
.
“🚩การสอบสวน”หมายความว่า การรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งคณะอนุกรรมการสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษ เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด
.

⭐️ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
2.ว่ากล่าวตักเตือน
3.ภาคทัณฑ์
4.พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี
5.เพิกถอนใบอนุญาต
(ข้อ4เเละ5ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน)
.

ระยะเวลาโดยรวมทั้งหมด เป็นไปตามกระบวน จึงขอประชาสัมพันธ์ในทราบเเละเข้าถึงเเนวทางการดำเนินงาน ขอขอบคุณครับ


🚩 คณะอนุกรรมการสื่อสารสังคมเเละส่งเสริมภาพลักษณ์วิชาชีพ
สภาเภสัชกรรม
สภาเข้มแข็ง – วิชาชีพก้าวหน้า – ชาวประชาวางใจ

ขอขอบคุณครับ

⭐️ อ้างอิง
• -✅ พระราชบัญญัติ วิชาชีพ เภสัชกรรม 2537 : https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=66&itemid=2520&catid=0
• -✅ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 2563 https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=67&itemid=2489&catid=0

#สภาเภสัชกรรม
#สื่อสารสภาเภสัชกรรม

ดูโพสต์ต้นฉบับ


Share this:

Posted in ข่าวสารจากสภาเภสัชกรรม.