เด็กเภสัชฯ กับชีวิตติด (ตำรา) ยา

ความรู้เกี่ยวกับยาบนโลกใบนี้มีมากมายมหาศาล สารพัดที่เด็กเภสัชต้องเรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่เด็กเภสัชทุกคนต้องทำเป็นคือ การเปิดฟาร์มาโคเปีย (Pharmacopoeia)

ฟาร์มาโคเปียถูกเขียนขึ้นโดยหลายชาติ ทั้งอเมริกา (United States Pharmacopeia – USP) ในรูปด้านล่างนี้ เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้เปิดกันจนชินมือ อังกฤษ (British Pharmacopoeia) เป็นที่นิยมรองลงมา ญี่ปุ่น (Japanese Pharmacopoeia) หรือแม้กระทั่งที่ไทยก็จะมีตำรายาสมุนไพรที่เรียกว่า Thai Herbal Pharmacopoeia (ซึ่งเปิดยากและงงชิบหาย หรือไม่แอดก็ยังไม่ชิน 55555)

ฟาร์มาโคเปียจะออกใหม่ทุกปี ปีละหลายเล่ม รวมเกือบหมื่นหน้า (หรือเกินหมื่น แอดก็สุดจะหา 55555) เป็นตำรายาที่รวบรวมองค์ความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับยา ทั้งวัตถุดิบทางยา การตรวจสอบคุณภาพยา โครงสร้างทางเคมีต่างๆ ของยา ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นตำรายาที่สำคัญมากๆ ในวงการเภสัชกรรม โดยเฉพาะเภสัชกรรมอุตสาหการ ทั้งการผลิต การตรวจสอบมาตรฐานของยา ทุกๆ กระบวนการต่างก็ต้องทำตามมาตรฐานที่ฟาร์มาโคเปียกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด กฎหมายต่างๆ ที่กำหนดมาตรฐานของยา ก็จะกำหนดตามเกณฑ์ที่ฟาร์มาโคเปียกำหนด

ตลอดชีวิตการศึกษายา ไม่มีทางที่จะขาดตำรายาไปได้ หลายครั้งที่ต้องรวมตัวกับเพื่อนๆ มานั่งเปิดฟาร์มาโคเปีย (หนังสือเกือบหมื่นหน้า พยายามเรียกเพื่อนมาช่วยๆ กันเปิดจะดีที่สุด……) เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับยาไปทำงานส่งอาจารย์

ถ้าน้องอยากมาสัมผัสประสบการณ์การเปิดหนังสือที่สามารถตีหัวหมาตายได้ ฟาร์มาโคเปียคือคำตอบ และไม่ใช่แค่หัวหมา แต่หัวคนหรือแม้กระทั่งหัวช้างก็น่าจะไม่เหลือเหมือนกัน มันหนาและหนักมากๆ จริงๆ ค่ะน้อง ชุดนึงนี่น่าจะเป็นโลเลย 555555

เครดิตรูปภาพ : https://m.indiamart.com/proddetail/united-states-of-pharmacopoeia-42-nf37-books-19735105362.html


Share this:

Posted in การเรียนเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *