จบมอไม่รับรอง สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพตาม พรบ.อุดมศึกษาตัวใหม่ใช่ไหม?

คือพี่ว่าเรื่องนี้เป็นการจับแพะชนแกะ พี่ขออธิบายแบบนี้ละกัน

“พรบ.อุดมศึกษา เป็นการห้ามสภาวิชาชีพก้าวก่ายกิจการมหาลัย จึงห้ามสภาฯรับรองหลักสูตร คนละอันกับรับรองปริญญา ซึ่งรับรองตาม พรบ.วิชาชีพ”

หมายความว่า มหาลัย จะเปิดหลักสูตรอะไร สภาวิชาชีพไม่มีสิทธิสั่ง แต่รับรองปริญญาว่าใครเป็นสมาชิกได้ อันนี้ทำตาม พรบ. วิชาชีพ คนละอันกัน ถ้าอยากเข้าใจเรื่องนี้ละเอียด อ่านบทความเรื่อง เรียนเภสัช ม.ไม่รับรอง จะเกิดอะไรขึ้น จะสอบใบประกอบได้ไหม

แล้วถ้าถามว่า จบ ม.ไม่รับรอง จะสอบใบประกอบได้ไหม ยังไม่มีความชัดเจนออกมา แต่ดาดว่าจะใช้แนวทางเดียวกับเภสัชที่จบจาก ม.ต่างประเทศ เพราะเภสัชที่จบจาก ม.ต่างประเทศ ก็จบจากมอไม่รับรองเหมือนกัน จึงควรใช้หลักการเดียวกัน และไม่มีเป็นการจำกัดสิทธิการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญด้วย

ถ้าอยากรู้ว่า จบ เภสัช ม.ต่างประเทศ อยากได้รับรองปริญญา เพื่อที่จะได้มีสิทธิสอบใบประกอบได้ต้องทำอะไรบ้าง ดูตัวอย่างประกาศนี้ https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=2977&catid=0 ซึ่งก็คือต้องมีการเรียนและฝึกงานเพิ่มเติม

แต่ขอให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจไว้ดังนี้

  • ปัจจุบันยังไม่มีเคส นศ. จบจากมอที่ไม่รับรองออกมาจริงๆ เพียงแต่เป็นแนวทางคร่าวๆเบื้องต้น เพราะคนจบมอไม่รับรอง ก็ไม่ต่างกับจบมอต่างประเทศ เพราะสภาเภสัชก็ไม่ได้รับรองมอในต่างประเทศ จึงควรใช้หลักการเดียวกัน
  • หลังจากน้องจบแล้ว น้องต้องติดต่อสภาเภสัชด้วยตนเอง และสภาเภสัชจะพิจารณาเป็น case by case ว่าใครควรเรียนเพิ่มเติมวิชาไหน หรือฝึกงานเพิ่มเติมเรื่องอะไรบ้าง ขึ้นกับหลักสูตรและผลการเรียนน้องเองด้วย แต่ที่ผ่านมา มักเสียเวลากับการเรียนและฝึกงานเพิ่มประมาณ 2 ปี
  • มอที่รับรองที่ยินดีรับน้องเข้าศึกษาต่อ อาจทดสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของน้อง ถ้าไม่ผ่าน อาจต้องศึกษารายวิชานั้นใหม่ นอกเหนือจากที่สภาเภสัชประกาศกำหนดมาให้
  • หลายๆมอไม่ค่อยอยากรับ นศ. นอกหลักสูตร ที่มาขอศึกษาเพิ่มเติมแบบนี้สักเท่าไร เพราะบริหารจัดการยาก บางมอคิดค่าเรียนแพงพิเศษ ส่วนเรื่องที่นั่ง ตอนนี้มีแต่เภสัชที่จบจากต่างประเทศซึ่งในแต่ละปีมีไม่มาก ทำให้หลายๆมอยังรองรับ นศ. ตรงส่วนนี้ไหว แต่ถ้าอนาคตมีแบบนี้เยอะมากๆ ที่นั่งพิเศษเหล่านี้อาจไม่พอได้ ซึ่งยังไม่มีแนวทางว่าต้องทำอย่างไรหากที่นั่งพิเศษสำหรับศึกษาที่ต้องศึกษาต่อตามประกาศเภสัชเพื่อการรับปริญญาตรงนี้มีไม่พอ อาจจะต้องมีการรอคิวกันก็ได้ ทำให้เสียเวลาไปอีก

Share this:

Posted in การเรียนเภสัช.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *